วันจันทร์ที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

สรุปติวเนติที่ขอนแก่น วิ.อาญา

สรุปติวเนติ์ที่ขอนแก่น
วิอาญา ภาค 1
ม.5+ม.2(4)
มาตรา5ส่วนใหญ่ออก(1)(2)
ฎีกา7640/2550
/////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////
ม.29ตายก่อนฟ้อง(คดีความผิดส่วนตัว)คดีตายตามผู้เสียหาย
ฟ้องแล้วตาย เข้าม.29(1)
แต่ถ้าผู้ว่าคดีต่างผู้ตายฟ้องคดีแล้วตายลง ผู้สืบสันดาน หรือผู้แทนโดยชอบธรรมจะเข้าว่าคดีอาญาแทนไม่ได้
ไม่เข้าม.29 เพราะมิใช่กรณีผู้เสียหายที่แท้จริงฟ้องคดีและตายลง
ฎีกา5884/2550
/////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////
เขตอำนาจสอบสวน
ม.18
คดีนี้เกิดการยิงกันที่สน.ลุมพินี แต่ผู้เสียหายมีที่อยู่ในพื้นที่สน.ตลิ่งชัน และไปตายร.พ.ศิริราช ท้องที่ของพนักงานสอบสวนสน.บางกอกน้อย
พนักงานสอบสวนสน.ลุมพินี คือ พนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบเพราะเป็นท้องที่ที่ความผิดเกิด
สน.ตลิ่งชัน สอบสวนไม่ได้เพราะไม่ใช่ท้องที่ที่ความผิดเกิด หรือจำเลยมีที่อยู่
หรือถูกจับ
ส่วนพนักงานสอบสวนบางกอกน้อยก็ไม่ทีอำนาจสอบสวนเช่นกันเพราะท้องที่ที่ผลของการกระทำความผิดได้เกิดนั้นไม่ได้อยู่ในบัญญัติม.18
***พนักงานสอบสวนสน.บางกอกน้อยมีอำนาจสอบสวนชันสูตรพลิกศพเพราะเป็นท้องที่ที่ศพนั้นอยู่(อำนาจสอบสวนชันสูตรพลิกศพตามม.150เท่านั้น ไม่มีอำนาจสอบสวนการกระทำความผิดในคดีนี้)อาจารย์จะไปสอนเรื่องการชันสูตรพลิกศพโดยละเอียดอีกทีหนึ่ง
/////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////
ดูเรื่องพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบ
ม.19
ดูว่าอะไรเป็นความผิดต่อเนื่อง
ตัวอย่างฎีกาที่ไม่ใช่ความผิดต่อเนื่อง
ฎีกา1756/2550
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยทั้งสองร่วมกันมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย 570 เม็ด และจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนดังกล่าว 70 เม็ด แก่ผู้มีชื่อ และโจทก์นำสืบว่า เจ้าพนักงานตำรวจจับจำเลยทั้งสองพร้อมยึดเมทแอมเฟตามีน 500 เม็ด และจับพวกจำเลยเจ็ดคน พร้อมยึดเมทแอมเฟตามีนที่บุคคลทั้งเจ็ดซื้อจากจำเลยทั้งสองคนละ 10 เม็ด ได้ที่บ้านจำเลยที่ 2 ซึ่งอยู่ในท้องที่สถานที่ตำรวจนครบาลแสมดำ การมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายและการจำหน่าย จึงเกิดในท้องที่สถานีตำรวจนครบาลแสมดำทั้งสิ้น และโจทก์มิได้ฟ้องว่าจำเลยที่ 1 ร่วมกระทำความผิดกับพวกจำเลยอีก 2 คนที่ถูกจับในท้องที่สถานีตำรวจนครบาลบางบอน การกระทำของจำเลยที่ 1 ก็มิใช่ความผิดต่อเนื่องและกระทำต่อเนื่องกันในท้องที่ต่าง ๆ เกินกว่าท้องที่หนึ่งขึ้นไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 19 (3) จึงอยู่ในเขตอำนาจของพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจนครบาลแสมดำตามมาตรา 18 วรรคสอง ประกอบมาตรา 2 (6) มิใช่อยู่ในเขตอำนาจของพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจนครบาลบางบอนที่สอบสวนคดีนี้ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องตามมาตรา 120
/////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////
ดูเรื่องพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบ ม.19
ม.20
การทำผิดในเรื่อไทย อากาศยานไทย ขณะที่อยู่ในต่างประเทศ เป็นการกระทำนอกราชอาณาจักร
***แต่อ่าวไทย ถือเป็นดินแดนของไทย
ตามม.20พนักงานอัยการที่ได้รับมอบหมายมีอำนาจเป็นพนักงานสอบสวนและถ้าได้รับมอบให้เป็นพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบด้วยมีอำนาจสั่งคดีด้วย
แต่ถ้าเป็นกรณี.4พนักงานอัยการมีอำนาจแค่ให้คำแนะนำ แต่ไม่มีอำนาจสั่งคดี
ว.5(1)(2)พนักงานสอบสวนมีอำนาจสอบสวนชั่วคราวเท่านั้น(ระหว่างรอคำสั่งของอัยการสูงสุด) แต่ไม่ใช่พนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบ เว้นแต่อัยการจะได้มีคำสั่งมอบหมายมาทีหลัง
***เขียนฟ้อง ยื่นฟ้อง เรียงฟ้องคดีตามม.20 อัยการคนใดทำก็ได้
***การสั่งฟ้องหรือไม่ฟ้องเป็นอำนาจอัยการสูงสุดเท่านั้น***(เป็นเจตนารมณ์ของกฎหมาย)
/////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////
การชันสูตรพลิกศพ
คดีที่ต้องมีการชันสูตรพลิกศพคือกรณีตามม.148
ม.129 ห้ามฟ้องจนกว่าจะได้ชันสูตรพลิกศพเสร็จแล้ว ห้ามแต่อัยการฟ้องเท่านั้น ไม่ได้ห้ามในกรณีเอกชนฟ้อง
***แพทย์ยังชันสูตนอยู่ ถือว่ายังไม่เสร็จ
***แต่ถ้าไม่มีการชันสูตรพลิกศพเลย ไม่ห้ามฟ้อง
***ชันสูตรไม่ชอบแต่ว่าเสร็จแล้ว ฟ้องได้
หลักเกณฑ์การชันสูตรพลิกศพอยู่ที่ม.150
ว.1 ไม่มีอะไรเพราะเป็นกรณีที่ตายจากการกระทำของเอกชนด้วยกันมีผู้ร่วมชันสูตรเพียง2ฝ่ายคือพนักงานสอบสวนกับแพทย์ทางนิติเวชฯ
ว.3 ความตายเกิดขึ้นโดยการกระทำของเจ้าพนักงานซึ่งอ้างว่าปฎิบัติราชการตามหน้าที่หรือตายระหว่างอยู่ในความควบคุมของเจ้าพนักงานซึ่งอ้างว่าปฎิบัติราชการตามหน้าที่มีผู้เข้าร่วม4ฝ่าย คือ อัยการ พนักงานฝ่ายปกครอง พนักงานสอบสวน และแพทย์
เมื่อชันสูตรเสร็จแล้วต่อไปก็เป็นหน้าที่ของพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบ เข้าเรื่องสอบสวนในกรณีคดีวิสามัญฯแล้ว
ม.155/1แจ้งให้อัยการเข้าร่วมในการสอบสวนด้วยในคดีวิสามัญ(ความตายเกิดขึ้นโดยการกระทำของเจ้าพนักงานซึ่งอ้างว่าปฎิบัติราชการตามหน้าที่หรือตายระหว่างอยู่ในความควบคุมของเจ้าพนักงานซึ่งอ้างว่าปฎิบัติราชการตามหน้าที่)รวมหมดทุกคดีไม่ว่าพนักงานสอบสวนจะเจตนาฆ่าหรือไม่ได้เจตนาฆ่า คดีนี้พนักงานสอบสวนสอบสวนและมีคำสั่งในคดีและส่งไปให้พนักงานอัยการคนใดก็ได้ในท้องที่ที่ทำการสอบสวนนั้นมีอำนาจสั่งฟ้องหรือไม่ฟ้องได้เลย
***แต่ถ้าสอบสวนแล้วเป็นการฆาตกรรมคือเจ้าพนักงานเจตนาฆ่าจะไปเข้าม.143ว.ท้ายคืออัยการสูงสุดเท่านั้นมีอำนาจออกคำสั่งฟ้องหรือไม่ฟ้อง

เมื่อบรรยายถึงหัวข้อนี้อาจารย์มีโจทย์ให้ทำด้วย คำถามดังนี้
เอกบุรุกบ้านโท และเอกมีปากเสียงกับโท โทจึงใช้ไม่ตีศรีษะเอกจนเอกสลบ โทไปแจ้งความต่อพันตำรวจตรีสมชายพนักงานสอบสวนสน.พญาไทว่าเอกบุรุก พันตำรวจตรีจึงไปบ้านโทพบเอกนอนสลบอยู่จึงนำพาส่งร.พ.ตำรวจ เขตพื้นที่สน.ปทุมวัน เอกถึงแก่ความตายขณะที่พันตำรวจตรีสมชายพาไปร.พ.ตำรวจ พันตำรวจตรีสมชายร่วมกับแพทย์ขันสูตรพลิกศพเอก โดยมิได้ทำสำนวนสอบสวนเสนออัยการแต่สรุปสำนวนการสอบสวนและมีความเห็นสั่งฟ้องนายโทฐานทำร้ายร่างกายผู้อื่นจนเป็นเหตุให้ถึงแก่ความตายเสนอพนักงานอัยการสำนักงานคดีอาญา ต่อมาอัยการฟ้องนายโทในความผิดฐานดังกล่าว โดยมิได้เสนอให้อัยการสูงสุดออกคำสั่ง
(ก) ให้วินิจฉัยว่าการชันสูตรพลิกศพเอกชอบด้วยกฎหมายหรือไม่
(ข) พนักงานอัยการสำนักงานคดีอาญามีอำนาจฟ้องคดีนี้หรือไม่
ธงคำตอบ(ก)ให้วินิจฉัยว่าการชันสูตรพลิกศพเอกชอบด้วยกฎหมายหรือไม่
***ต้องดูก่อนว่าความตายเกิดจากการถูกผู้อื่นทำให้ตายหรือไม่ ถ้าใช่ก็เข้าเรื่องชันสูตรตามหลักมาตรา149+150ว.1
***ถ้าเป็นการตายโดยเกิดจากการกระทำของพนักงานซึ่งอ้างว่าปฎิบัติราชการตามหน้าที่หรือตายระหว่างอยู่ในความควบคุมของเจ้าพนักงานซึ่งอ้างว่าปฎิบัติราชการตามหน้าที่ การชันสูตรจะเข้าม.150ว.3
ตามข้อเท็จจริง เอกตายขณะที่พันตำรวจตรีสมชายพาส่งโรงพยาบาล ไม่ถือว่าอยู่ในความควบคุมของเจ้าพนักงานเพราะถึงแม้ว่าโทจะไปแจ้งความร้องทุกข์ว่าเอกบุกรุก แต่พนักงานสอบสวนก็ยังมิได้แจ้งข้อหา ยังไม่ถือว่าถูกจับกุม เอกจึงไม่ได้อยู่ในควบคุมของเจ้าพนักงาน คดีนี้จึงเป็นการตายโดยการถูกผู้อื่นทำให้ตาย เข้าหลักชันสูตรแค่ม.150ว.1เท่านั้น
***เมื่อเป็นกรณีตามม.150ว.1 ผู้ที่ร่วมชันสูตรพลอกศพจึงมีแค่2ฝ่ายคือพนักงานสอบสวนท้องที่ที่ศพนั้นอยุ่กับแพทย์ทางนิติเวชฯ
***พนักงานสอบสวนที่มีอำนาจเข้าร่วมชันสูตรคือพนักงานสอบสวนสน.ปทุมวันเพราะเป็นท้องที่ที่ศพนั้นอยู่ เมื่อพันตำรวจตรีสมชายซึ่งมิใช่พนักงานสอบสวนแห่งท้องที่ที่ศพนั้นอยู่เข้าร่มชันสูตรฯการชันสูตรจึงไม่ชอบ
ตาม(ก)ตอบว่าการชันสูตรพลิกศพของเอกไม่ชอบด้วยกฎหมาย
มาดู (ข)พนักงานอัยการสำนักงานคดีอาญามีอำนาจฟ้องคดีนี้หรือไม่
***เมื่อเรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องคดีฆาตกรรมจากเจ้าพนักงาน จึงไม่เข้าม.143ว.ท้าย ไม่ต้องเสนอสำนวนไปให้อัยการสูงสุดเป็นผู้สั่ง อัยการสำนักงานคดีอาญาจึงมีอำนาจสั่ง
***และแม้การชันสูตรฯจะไม่ชอบด้วยกฎหมายก็ไม่มีกฎหมายห้ามให้ฟ้องคดี
เพราะม.129ห้ามมิให้ฟ้องจนกว่าจะชันสูตรฯเสร็จ แต่ไม่ได้ห้ามในกรณีที่ชันสูตรเสร็จแล้วแต่การชันสูตรไม่ชอบ เพราะฉะนั้นอัยการสำนักงานคดีอาญาฟ้องคดีได้
ฎีกา363/2593กฎหมายหาได้ห้ามไม่ให้ฟ้องในกรณีที่ไม่มีการชันสูตรพลิกศพไม่และแม้การชันสูตรพลิกศพจะไม่ชอบ ก็ไม่มีกฎหมายห้ามไม่ให้ฟ้อง
////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////
ต่อไปอาจารย์พูดถึงเรื่องการจับ กับการ ค้น
มีโจทย์ให้ทำดังนี้
จ่าสิบตำรวจเก่งสืบทราบจากสายลับว่านายแดงกำลังนำยาบ้าไปจำหน่ายแก่ผู้ซื้อ จึงเข้าตรวจค้นนายแดงเวลากลางวัน ขณะกำลังขายก๋วยเตี๋ยวที่ร้านนายแดง ซึ่งมีลูกค้ากำลังรับประทานก๋วยเตี๋ยวอยู่ โดยไม่มีหมายค้นพบยาบ้า50เม็ดอยู่ในกระเป๋าสตางค์ที่คาดเอวของนายแดง จ่าสิบตำรวจเก่งจับนายแดงดำเนินคดีข้อหามียาบ้าไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย จ่าสิบตำรวจเก่งทำการจับและค้นชอบด้วยกฎหมายหรือไม่






อาจารย์ลำดับความคิดดังนี้
ให้ดูเรื่องการจับโดยไม่มีหมายก่อน ว่ามีมาตราใดให้อำนาจไว้ ซึ่งคือม.78
มาตรา78 ให้จับได้ในกรณีเป็นความผิดซึ่งหน้า อาจารย์ก็ให้ไปดูว่าอะไรเรียกว่าความผิดซึ่งหน้า ซึ่งมีในม.80 เพราะฉะนั้นกรณีตามโจทย์เนี่ยถือว่านายแดงทำความผิดซึ่งหน้าไหม ตอบว่าใช่เพราะเมื่อค้นและพบยาบ้าอยู่ในครอบครองของนายแดงก็ถือว่านายแดงได้กระทำความผิดซึ่งหน้าแล้ว เพราะของที่มีไว้เป็นความผิดเนี่ยผู้ครอบครองกระทำผิดอยู่ตลอดเวลาที่ครอบครอง เพราะฉะนั้นเมื่อเป็นการกระทำผิดซึ่งหน้าตามม.80 จึงมีอำนาจจับได้โดยไม่มีหมายตามมาตรา78 การจับจึงชอบด้วยกฎหมาย
ทีนี้มาดูเรื่องการค้น อาจารย์ลำดับความคิดดังนี้
การค้นในที่รโหฐานนั้นต้องมีหมายจับ ตามม.92 แต่ม.92 ก็มีข้อยกเว้นอีก5 กรณีที่สามารถค้นได้โดยไม่มีหมาย***ซึ่งข้อสอบมักออก(4)
และอาจารย์ก็พูดถึงเรื่องการค้นตัวบุคคลในที่สาธารณสถานม.93ซึ่งให้อำนาจตำรวจค้นได้เมื่อมีเหตุสงสัยว่าบุคคลนั้นมีสิ่งของในครอบครองซึ่งมีไว้เป็นความผิด
มาดูตามข้อเท็จจริงการค้นของจ่าสิบตำรวจเก่งต้องมีหมายค้นไหมในกรณีนี้
1.การค้นนั้นได้ค้นในที่รโหฐานหรือไม่ เพราะฉะนั้นต้องมาดูว่าร้านก๋วยเตี๋ยวเป็นที่รโหฐานหรือไม่ ตอบว่า ไม่ใช่ ร้านก๋วยเตี๋ยวเป็นที่สาธารณสถานการที่จ่าสิบตำรวจแดงเข้าไปจึงไม่ต้องมีหมายค้น
2.แล้วการค้นตัวนายแดงซึ่งเป็นการค้นตัวนายแดงในที่สาธารณสถานนั้นชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ เมื่อม.93 กำหนดไว้ว่าการค้นตัวบุคคลใดในที่สาธารณสถานต้องเป็นการค้นโดยตำรวจหรือพนักงานฝ่ายปกครอง และมีเหตุอันควรสงสัยด้วยว่าบุคคลนั้นมีสิ่งไว้ในครอบครองซึ่งมีไว้เป็นความผิด จากข้อเท็จจริงมีเหตุอันควรสงสัยอยู่แล้วเพราะจ่าสิบตำรวจเก่งได้รับแจ้งมาจากสายลับว่านายแดงมียาบ้าไว้ในครอบครอง จ่าสิบตำรวจเก่งจึงค้นตัวนายแดงได้
เพราะฉะนั้นการจับและค้นจึงชอบด้วยกฎหมาย
ฎีกา3751/2551


///////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////
ต่อไปเป็นเรื่องการสอบสวน
ตำรวจสน.สุพรรณบุรีร่วมจับกุมนายเฉลิมอายุ17ปีเศษ ตามหมายจับศาลสุพรรณบุรีในข้อหาลักทรัพย์ในเวลากลางคืน ก่อนเริ่มสอบปากคำไม่ได้สอบถามเรื่องทนายและไม่ได้จัดทนายให้นายเฉลิม แต่ถามว่าต้องการให้บุคคลใดเข้าร่วมในการสอบปากคำหรือไม่ ผู้ต้องหาไม่ต้องการ การสอบปากคำจึงไม่มีพนักงานอัยการ ไม่มีสหวิชาชีพ พนักงานสอบสวนสรุปความเห็นควรสั่งฟ้องเสนอพนักงานอัยการจังหวัดสุพรรณบุรีหากพนักงานอัยการเห็นว่าในการที่ผู้ต้องหาลักเมล็ดข้าวในนาข้าวของผู้เสียหายนั้น ได้ใช้รถเกี่ยวข้าว เกี่ยวต้นข้าวในนาของผู้เสียหาย พนักงานอัยการจึงสั่งฟ้อง โดยไม่ได้สั่งให้พนักงานสอบสวนแจ้งข้อหาเพิ่มเติมใดๆ พนักงานสอบสวน สอบสวนชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ และพนักงานอัยการมีอำนาจฟ้องในข้อหาลักทรัพย์ในเวลากลางคืนโดยใช้ยานพาหนะได้หรือไม่
อาจารย์ลำดับความคิดดังนี้
ดูเรื่องการสอบสวนผู้ต้องหาเด็กก่อน
ม.134/2 ให้นำบทบัญญัติในมาตรา133ทวิมาใช้บังคับโดยอนุโลม
ซึ่งหมายความว่าการสอบปากคำเด็กตามความผิดที่ระบุไว้ในม.133ทวิ (9 ฐาน)นั้น การถามปากคำผู้เสียหายต้องมีสหวิชาชีพ พนักงานอัยการ และบุคคลที่เด็กร้องขออยู่ด้วยในการถามปากคำ บังคับเลย ห้ามสละสิทธิ์
***แต่ถ้ามิใช่ความผิด 9 ฐานนี้ และคดีนั้นมีโทษจำคุก(ไม่มีขั้นต่ำ โทษแค่ 1 วันก็ได้)
จะต้องจัดให้ในกรณีที่เด็กร้องขอเท่านั้นจึงจะใช้วิธีการสำหรับเด็ก ถ้าเด็กไม่ขอไม่ต้องจัดให้
ในเมื่อม.134/2ให้นำม.133ทวิมาใช้ นายเฉลิมเป็นผู้ต้องหาเด็ก ในคดีลักทรัพย์ (คดีลักทรัพย์ไม่ใช่ความผิด 9 ฐานที่กฎหมายบังคับตามม.133ทวิ แต่มีโทษจำคุก)
มิได้ร้องขอให้ใช้วิธีการสำหรับเด็กตาม.133ทวิ พนักงานสอบสวนจึงสอบสวนได้โดยไม่ได้จัดให้มีสหวิชาชีพ พนักงานอัยการ และบุคคลที่เด็กร้องขอเข้าร่วมในการ
สอบปากคำผู้ต้องหาเด็ก


ต่อไปมาดูเรื่องสิทธิของผู้ต้องหาในการมีทนาย ม.134/1
ซึ่งวรรค1บังคับไว้เลยว่าในคดีที่มีโทษประหารชีวิตหรือผู้ต้องหาเป็นเด็กอายุไม่เกิน18ปีในวันที่พนักงานสอบสวนแจ้งข้อหา ก่อนเริ่มถามคำให้การพนักงานสอบสวนต้องถามเรื่องทนายถ้าไม่มีต้องจัดหาให้เท่านั้น ไม่มีข้อยกเว้น เพราะฉะนั้นเมื่อการสอบปากคำนายเฉลิมผู้ต้องหาเด็กพนักงานสอบสวนไม่ได้จัดทนายให้ จึงเป็นการสอบสวนที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
และบทลงโทษของการไม่ปฏิบัติตามม.134/1อยู่ที่ม.134/4ว.ท้าย คือไม่สามารถรับฟังคำให้การเป็นพยานหลักฐานในการพิสูจน์ความผิดของผู้นั้นเท่านั้น เป็นบทตัดพยาน ไม่ได้ทำให้การสอบสวนเสียไป ไม่ตัดสิทธิ์อัยการในการฟ้องผู้ต้องหา
เพราะมิใช่ บทตัดการสอบสวน ***บทตัดการสอบสวนอยู่ม.134และม.120***
ทีนี้มาดูว่าอัยการมีอำนาจฟ้องข้อหาลักทรัพย์ในเวลากลางคืนโดยใช้ยานพาหนะหรือไม่
ถึงแม้พนักงานอัยการไม่ได้สั่งให้พนักงานสอบสวนแจ้งข้อหาเพิ่มเติม แต่มันจะมาเข้าข้อยกเว้นว่าข้อหาที่เกี่ยวพันกันไม่ต้องแจ้งทุกข้อหา และถือว่าได้สอบสวนในข้อหานั้นแล้ว เมื่อปรากฏตามการสอบสวนว่าได้ใช้ยานพาหนะ จึงมีอำนาจฟ้องข้อหานี้ได้
ฎีกา7888/49ในกรณีการกระทำความผิดกฎหมายหลายบทหรือหลายกรรมต่างกัน พนักงานสอบสวนหาจำต้องระบุถึงกฎหมายที่เป็นความผิดทุกบทมาตราหรือทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไม่ แต่เมื่อใดแจ้งข้อหาอันเป็นหลักความผิดทั่วไปแล้ว ก็ไม่จำต้องแจ้งข้อหาความผิดอันเกี่ยวพันกันด้วยอีก พนักงานสอบสวนก็มีอำนาจสอบสวนความผิดทุกข้อหาได้ เมื่อพนักงานสอบสวนแจ้งข้อหาแก่จำเลยที่ 2 ว่า ร่วมกับจำเลยที่ 1 ฆ่าผู้ตายโดยไตร่ตรองไว้ก่อนแล้ว แม้ไม่แจ้งข้อหาว่ามีอาวุธปืนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับใบอนุญาต อันมีองค์ประกอบความผิดแตกต่างออกไป และอยู่ในกฎหมายต่างฉบับกัน ก็มีอำนาจสอบสวนความผิดฐานมีอาวุธปืนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับใบอนุญาตได้ ถือได้ว่ามีการสอบสวนความผิดฐานนี้แล้ว พนักงานอัยการโจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2 ในข้อหานี้ได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 120
เจ้าพนักงานตำรวจยึดอาวุธปืนของกลางได้จากที่บ้านของจำเลยที่ 2 อาวุธปืนดังกล่าวไม่มีเลขทะเบียนโดยถูกต้อง ชั้นจับกุมและชั้นสอบสวนจำเลยที่ 2 ให้การรับสารภาพในข้อหานี้มาโดยตลอด เพียงพอให้รับฟังได้ว่า จำเลยที่ 2 กระทำความผิดฐานมีอาวุธปืนของกลางไปในทางสาธารณะนั้น จากพยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบไม่มีพยานคนใดยืนยันว่าจำเลยที่ 2 พาอาวุธของกลางดังกล่าวติดตัวไปในทางสาธารณะด้วยแต่อย่างใด แม้จำเลยที่ 2 จะให้การรับสารภาพข้อหานี้ในชั้นจับกุมและชั้นสอบสวน ข้อเท็จจริงก็ยังไม่เพียงพอให้รับฟังว่า จำเลยที่ 2 กระทำความผิดในข้อหานี้
ฎีกา3759/50
การที่พนักงานสอบสวนแจ้งข้อหาให้จำเลยทราบตาม ป.วิ.อ. มาตรา 134 (เดิม) ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้ในขณะที่จำเลยกระทำความผิด เพื่อให้ผู้ต้องหาทราบว่าการกระทำของผู้ต้องหาเป็นความผิดและเพื่อให้ผู้ต้องหาเข้าใจถึงการกระทำของผู้ต้องหาซึ่งเป็นความผิดนั้น โดยไม่ต้องแจ้งข้อหาทุกกระทงความผิด เมื่อแจ้งข้อหาอันเป็นหลักแห่งความผิดแล้วก็ไม่จำต้องแจ้งข้อหาความผิดอันเกี่ยวพันกันด้วยอีกพนักงานสอบสวนมีอำนาจสอบสวนความผิดทุกข้อหาได้ กรณีของจำเลยเมื่อพนักงานสอบสวนแจ้งข้อหาว่าจำเลยทำร้ายร่างกายผู้อื่นเป็นเหตุให้ได้รับอันตรายสาหัสแล้ว แม้ไม่แจ้งข้อหาว่าพยายามฆ่าผู้อื่นซึ่งเป็นความผิดที่เกี่ยวพันกัน พนักงานสอบสวนก็มีอำนาจสอบสวนความผิดฐานพยายามฆ่าผู้อื่น ถือได้ว่ามีการสอบสวนความผิดฐานดังกล่าวแล้ว พนักงานอัยการโจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยในข้อหาพยายามฆ่าผู้อื่นตาม ป.วิ.อ. มาตรา 120
จำเลยใช้อาวุธสปาต้ายาวประมาณ 1 ฟุตครึ่ง ซึ่งเป็นมีดขนาดใหญ่ที่อาจใช้เป็นอาวุธฟันทำอันตรายบุคคลอื่นถึงแก่ความตายได้ ฟันบริเวณศีรษะของโจทก์ร่วมซึ่งเป็นอวัยวะสำคัญจนกะโหลกศีรษะแตกยุบและสมองฉีกขาด แสดงให้เห็นว่าโจทก์ร่วมถูกจำเลยใช้อาวุธสปาต้าฟันอย่างแรง และเป็นการเลือกฟันที่ส่วนสำคัญของร่างกาย ประกอบกับแพทย์ผู้ตรวจร่างกายโจทก์ร่วมให้การว่า บาดแผลของโจทก์ร่วมต้องรีบรักษา หากล่าช้าอาจถึงแก่ความตายได้เนื่องจากเลือดออกมาก บาดแผลติดเชื้อเข้าไปในสมองและมีเลือดคั่งในสมองมาก แม้จำเลยจะฟันโจทก์ร่วมเพียงครั้งเดียว จำเลยย่อมเล็งเห็นผลได้ว่าโจทก์ร่วมอาจถึงแก่ความตายได้ ถ้าหากไม่ได้รับการรักษาพยาบาลจากแพทย์ทันท่วงที การกระทำของจำเลยจึงฟังได้ว่าเป็นการกระทำโดยมีเจตนาฆ่าโจทก์ร่วม เมื่อโจทก์ร่วมไม่ถึงแก่ความตาย จำเลยจึงมีความผิดฐานพยายามฆ่าโจทก์ร่วม
//////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////
ต่อไปอาจารย์ขึ้นม.140,141,142****(ซึ่งอาจารย์เน้นว่าควรไปดูมาให้แม่นๆ)
มีคำถามดังนี้
นายบุญธรรมร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวน ให้ดำเนินคดีกับนายสมคิดและนายวิชัย ฐานร่วมกันชิงทรัพย์ พนักงานสอบสวนสอบปากคำนายบุญธรรมไว้เป็นพนาย ต่อมานายสมคิดทราบเรื่องจึงเข้าหาพนักงานสอบสวน พนักงานสอบสวนได้สอบคำให้การนายสมคิดในฐานะผู้ต้องหาแล้วปล่อยตัวไป โดยให้มาพบพนักงงานสอบสวนเมื่อมีหมายเรียก ส่วนนายวิชัยหบลหนีไป หลังจากนั้นพนักงานสอบสวนได้สอบสวนพยานอีกหลายปาก จนเสร็จสิ้น พนักงานสอบสวนออกหมายเรียกให้นายสมคิดมาพบเพื่อนำตัวส่งอัยการพร้อมสำนวนสอบสวนแต่นายสมคิดหลบหนีไปไม่มาตามหมายเรียก พนักงานสอบสวนยื่นคำร้องขอหมายจับต่อศาล ศาลออกหมายจับผู้ต้องหาทั้งสองไว้ พนักงานสอบสวนเห็นว่าเป็นสำนวนสอบสวนผู้ต้องหาผู้ต้องหาหลบหนี จึงส่งสำนวนไปยังอัยการโดยไม่มีผู้ต้องหาไปด้วยและทำความเห็นในสำนวนสอบสวนดังนี้
(ก)พนักงานสอบสวนทำความเห็นว่าการกระทำของนายสมคิดเป็นความผิดตามข้อกล่าวหา จึงทำความเห็นควรสั่งฟ้องเสนอสำนวนสอบสวนไปยังอัยการ
(ข)พนักงานสอบสวนทำความเห็นว่าการกระทำของนายวิชัยไม่เป็นความผิดฐานชิงทรัพย์จึงทำความเห็นควรสั่งไม่ฟ้อง
กรณีตาม(ก)และ(ข)พนักงานอัยการจะรับสำนวนไว้พิจารณาเพื่อสั่งคดีได้หรือไม่
อาจารย์ให้เรียงลำดับความคิดดังนี้ เรื่องนี้เป็นการสั่งคดีของพนักงานสอบสวนและพนักงานอัยการ ดูที่ม.141ก่อน
ถ้ารู้ตัวผู้กระผิด แต่เรียกและจับตัวยังไม่ได้ เมื่อได้ความตามทางสอบสวนอย่างใดให้ทำความเห็นว่าควรสั่งฟ้องหรือไม่ฟ้องส่งไปยังพนักงานอัยการ
ถ้าพนักงานอัยการเห็นชอบด้วยว่าควรสั่งไม่ฟ้องให้ยุติการสอบสวนโดยสั่งไม่ฟ้อง และให้แจ้งคำสั่งนี้ให้พนักงานสอบสวนทราบ
***ซึ่งหลักของม.141 ว.1และว.2 นั้น ในกรณีที่คดีนั้นรู้ตัวผู้กระทำผิดแล้ว แต่เรียกหรือจับตัวยังไมได้ พนักงานสอบสวนมีอำนาจทำความเห็นได้ทั้งควรสั่งฟ้องหรือไม่ฟ้องได้ทั้ง2คำสั่ง ซึ่งในกรณีที่อัยการเห็นด้วยกับคำสั่งไม่ฟ้องก็ยุติการสอบสวนโดยมีคำสั่งไม่ฟ้องได้เลย คิอสามารถรับสำสวนมาพิจารณาแล้วมีคำสั่งไม่ฟ้องได้
***แต่ถ้าอัยการเห็นว่าควรสั่งฟ้อง ก็สามารถมีคำสั่งให้จัดการเพื่อให้ได้ตัวผู้ต้องหามา
****กรณีตามม.141 นี้ ไม่ว่าพนักงานสอบสวนจะมีความเห็นอย่างไรเมื่อส่งสำนวนการสอบสวนไปให้พนักงานอัยการแล้ว พนักงานอัยการมีอำนาจในการรับสำนวนไปพิจารณาได้แม้ต่อมาจะมีคำสั่งที่แตกต่างจากพนักงานสอบสวนก็ตาม
ต่อไปดูม.142 เป็นกรณีที่รู้ตัวผู้กระทำผิด และผู้นั้นถูกควบคุมหรือขังอยู่หรือปล่อยตัวชั่วคราวหรือเชื่อว่าคงได้ตัวมาเมื่ออกหมายเรียก ให้พนักงานทำความเห็นว่าควรสั่งฟ้องหรือไม่ฟ้องส่งไปยังพนักงานอัยการพร้อมด้วยสำนวน
ในกรณีมีความเห็นควรสั่งไม่ฟ้อง ให้ส่งแต่สำนวนพร้อมความเห็นไปยังพนักงานอัยการในกรณีเสนอคงามเห็นควรสั่งฟ้อง ให้พนักงานสอบสวนส่งสำนวนพร้อมกับผู้ต้องหาไปยังพนักงานอัยการเว้นแต่ผู้ต้องหานั้นถูกขังอยู่
กรณีตามม.142 มีหลักดังนี้
****ต้องรู้ตัวผู้กระทำผิด และผู้นั้น
1)ถูกควบคุมตัว หรือขังอยู่ (ซึ่งโจทย์จะไม่ออกมาง่ายๆว่าผู้ต้องหาถูกขังอยู่)
2)ถูกปล่อยชั่วคราว หรือเชื่อว่าคงได้ตัวมาเมื่อออกหมายเรียก(ถ้าถูกปล่อยชั่วคราวแสดงว่าผู้ต้องหาถูกจับแล้วและมีการปล่อยตัวชั่วคราว)
****ถ้าพนักงานสอบสวนมีความเห็นควรสั่งไม่ฟ้องส่งแต่สำนวน+ความเห็นไป พนักงานอัยการมีอำนาจรับสำสวนไว้พิจารณาต่อได้เลยตามม.142ว.2
****แต่ถ้าพนักงานสอบสวนเห็นควรสั่งฟ้อง ให้พนักงานอัยการส่งสำนวน+ผู้ต้องหาไปยังพนักงานอัยการ
เพราะฉะนั้นถ้าส่งไปแต่สำนวนไม่ส่งผู้ต้องหาพนักงานอัยการรับสำนวนได้ไหม อ่ะๆๆๆๆๆ ใครตอบว่ารับได้ ตายแน่ ต้องตอบว่าไม่มีอำนาจรับสำนวนไว้พิจารณา ฟันธง!!!!!!
ทีนี้เรามาปรับใช้กับโจทย์ที่อาจารย์ให้มา
(ก)พนักงานสอบสวนทำความเห็นว่าการกระทำของนายสมคิดเป็นความผิดตามข้อกล่าวหา จึงทำความเห็นควรสั่งฟ้องเสนอสำนวนสอบสวนไปยังอัยการ
เราต้องมาดูก่อนว่านายสมคิดเนี่ยเค้าจะเข้ากรณีตาม.141หรือม.142
กรณีนายสมคิดพนักงานสอบสวนรู้ตัวผู้กระทำผิดแน่นอนก็พี่แกเล่นไปเข้าหาพนักงานสอบสวนซะขนาดนั้น แต่ว่าก็ถูกปล่อยตัว โดยให้มาพบเมื่อมีหมายเรียก เพราะฉะนั้นกรณีของนายสมคิดเนี่ยถือว่านายสมคิดถูกจับ และถูกปล่อยตัวแล้ว( เพื่อนๆอย่าลืมฎีกา1997/2550ที่วางหลักไว้ว่าจำเลยเข้ามอบตัวและพนักงานสอบสวนได้แจ้งข้อหาให้จำเลยทราบให้ถือว่าจำเลยถูกจับแล้ว) และกรณีนายสมคิดเนี่ยพนักงานสอบสวนก็เชื่อว่าจะได้ตัวมาเมื่อออกหมายเรียก(ถึงแม้เมื่อออกหมายเรียกแล้วนายสมคิดจะขัดขืนหมายเรียกก็ตาม)
กรณีนี้เมื่อเข้าม.142 ถ้าพนักงานสอบสวนมีความเห็นควรสั่งฟ้องต้องส่งสำนวนและ....อ่ะ
จำได้ปล่าวว่าต้องส่งพร้อมอะไร ตัวผู้ต้องหานั่นเอง ตามข้อเท็จจริง(ก) พนักงานสอบสวนมีความเห็นควรสั่งฟ้องแต่ดันส่งแค่สำนวนไปให้พนักงานอัยการ พนักงานอัยการจะรับไว้ได้หรือไม่ หลับตาตอบได้เลยว่า ไม่มีอำนาจรับ
(ข)พนักงานสอบสวนทำความเห็นว่าการกระทำของนายวิชัยไม่เป็นความผิดฐานชิงทรัพย์จึงทำความเห็นควรสั่งไม่ฟ้อง
มาดูกรณีของนายวิชัย เป็นกรณีที่รู้ตัวผู้กระทำผิดแต่นายวิชัยหลบหนีไปจึงเป็นการที่ยังจับตัวผู้ต้องหาไม่ได้จึงเข้าม.141
เมื่อพนักงานสอบสวนมีความเห็นควรสั่งฟ้องหรือไม่ฟ้อง ก็สามารถส่งสำนวนพร้อมความเห็นไปได้เลยไม่ต้องได้ตัวผู้กระทำผิดมาทั้ง2กรณี
เพราะฉะนั้นพนักงานอัยการสามารถรับสำนวนการสอบสวนของนายวิชัยไว้พิจารณามีคำสั่งต่อไปได้
***ข้อสังเกตของม.140,141,142 นั้นแม้ว่าพนักงานอัยการจะยุติการสอบสวนไว้ตามมาตราใดมาตราหนึ่งในสามมาตรานั้นก็ตาม ไม่ใช่คำสั่งเด็ดขาดไม่ฟ้อง เป็นเพียงความเห็นควรสั่งไม่ฟ้องเท่านั้นคือยุติเรื่องไว้ก่อนหากภายหลังจับตัวผู้ต้องหาได้แล้ว ก็สามารถรื้อสำนวนมาสอบสวนกันใหม่ได้ ไม่ได้ต้องห้ามตามม.147 เป็นคนละกรณีกัน
/////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////
ต่อไปอาจารย์ได้พูดถึงม.192 ซึ่งอาจารย์เน้นให้ไปดู
คำถาม
โจทก์ฟ้องจำเลยที่1และจำเลยที่2 ร่วมกันชิงทรัพย์ผู้เสียหาย บรรยายฟ้องว่าจำเลยทั้ง2ขู่เข็ญว่าในทันใดนั้นจะใช้กำลังประทุษร้ายเพื่อให้ยื่นให้ซึ่งทรัพย์ แล้วเอาทรัพย์ของผู้เสียหายไปโดยทุจริต ขอให้ลงโทษตามม.339 จำเลยปฏิเสธอ้างฐานที่อยู่ ทางพิจารณาได้ความว่าจำเลยที่1เพียงคนเดียวขู่เข็ญผู้เสียหาย โดยอ้างว่าเป็นพนักงานตำรวจและขู่เข็ญว่าจะยัดยาบ้าให้เท่านั้น มิได้ขู่เข็ญว่าในทันใดนั้นจะใช้กำลังประทุษร้ายผู้เสียหายอันจะเป็นความผิดฐานชิงทรัพย์ แต่เข้าลักษณะเป็นการข่มขืนใจผู้เสียหาย ให้ยอมให้จำเลยได้รับประโยชน์ในลักษณะที่เป็นทรัพย์สินโดยขู่เข็ญว่าจะทำอันตรายต่อเสรีภาพของผู้เสียหาย อันเป็นความผิดฐานกรรโชกม.337 ส่วนจำเลยที่2มิได้ร่วมกระทำผิดความผิดกับจำเลยที่1ด้วย แต่ได้ทำร้ายร่างกายผู้เสียหายอันได้รับอันตรายแก่กายม.295 ให้วินิจฉัยว่าศาลจะพิพากษาลงโทษจำเลยที่1 จำเลยที่2 ในความผิดฐานใดได้บ้าง
เรื่องนี้เข้าม.192 ซึ่งรายละเอียดเยอะ เราขอพูดแค่เรื่องที่เกียวกับคำถามนี้นะคะเพราะเวลาน้อย
หลักของม.192ว.1คือห้ามพิพากษา หรือสั่ง เกินคำขอหรือที่มิได้กล่าวในฟ้อง
คดีนี้โจทก์ขอให้ลงโทษฐานชิงทรัพย์แต่ทางพิจารณาแล้วกลับไม่ใช่เรื่องชิงทรัพย์สำหรับจำเลยที่กลับเป็นเรื่องกรรโชกทรัพย์ถามว่าศาลจะลงโทษฐานกรรโชกทรัพย์ได้ไหม
มาดูม.192ว.3
ในกรณีที่เป็นความแตกต่างระหว่างการกระทำความผิดฐานลักทรัพย์ กรรโชกทรัพย์ รีดเอาทรัพย์ ฉ้อโกง โกงเจ้าหนี้ ยักยอก รับของโจร และทำให้เสียทรัพย์ มิให้ถือว่าแตกต่างกันในข้อสาระสำคัญ
***แต่ความผิดฐานชิงทรัพย์ไม่มีในวรรคนี้
***แต่ความผิดฐานชิงทรัพย์รวมการขู่เข็ญเอาทรัพย์และการลักทรัพย์ไว้นั้นด้วยแล้ว เมื่อกรรโชกทรัพย์ก็เป็นการขู่เข็ญเพื่อเอทรัพย์เหมือนกันถือว่าไม่แตกต่างในข้อสาระสำคัญม.193 ศาลลงโทษฐานกรรโชกทรัพย์ได้
***ความผิดฐานชิงทรัพย์รวมความผิดฐานทำร้ายร่างกายไว้ด้วย เพราะฉะนั้นเมื่อทางพิจารณาพิจารณาได้ว่าไม่ใช่เป็นการชิงทรัพย์แต่ทีการทำร้ายร่างกายผู้เสียหาย ศาลก็ลงโทษฐานทำร้ายร่างกายได้
***แต่ว่าม.192วรรค3นั้นถึงแม้ว่าลงโทษตามทางที่พิจารณาได้ก็จริงแต่เมื่อโจทก์มิได้บรรยายฟ้องให้ครบองค์ประกอบความผิดที่จะลงโทษนั้น ศาลก็ลงโทษไม่ได้เพราะเป็นการพิพากษาเกินคำขอหรือที่มิได้กล่าวในฟ้องห้ามมิให้ศาลพิพากษาลงโทษ
ตามโจทย์ศาลลงโทษจำเลยที่1ฐานกรรโชกทรัพย์ได้เพราะไม่ถือว่าแตกต่างในข้อสาระสำคัญ
แต่จะลงโทษจำเลยที่2ฐานทำร้ายร่างกายไม่ได้เพราะโจทก์บรรยายฟ้องเพียงว่าจำเลยเพียงแต่ขู่เข็ญว่าจะใช้กำลังประทุษร้ายเท่านั้นไม่ได้บรรยายว่าทำร้ายแล้ว ต้องพิพากษายกฟ้อง
ฎีกา2912/50***ยังไม่เคยออกสอบ/////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////
ขึ้นเรื่องพยานในส่วนวิแพ่ง
คำถามดังนี้

โจทก์ฟ้องว่า โจทก์เข้ารับการผ่าตัดเสริมความงามที่สถานเสริมความงามของจำเลย เกิดอาการผิดปกติ เป็นแผลอักเสบรุนแรงบริเวณอวัยวะที่รับการผ่าตัดจนต้องเข้ารับการรักษาจากร.พ.อื่นอีกหลายครั้งเป็นผลมาจากการกระทำโดยประมาทขาดความระมัดระวังของจำเลย ทำให้โจทก์เสียหายเป็นเงิน500,000บาทขอให้จำเลยชดใช้พร้อมดอกเบี้ย จำเลยให้การว่าได้ทำศัลยกรรมไปตามมาตรฐานวิชาชีพอย่างระมัดระวังดีแล้ว มิได้ประมาทจึงไม่ต้องรับผิด ให้วินิจฉัยว่า
(ก)คดีมีประเด็นข้อพิพาทกี่ประเด็น อะไรบ้าง
(ข)ภาระการพิสูจน์ในแต่ละประเด็น เกิดแก่คู่ความฝ่ายใด
(ค)ศาลควรให้ฝ่ายใดนำพยานหลักฐานเช้าสืบก่อน
มาดู(ก)ข้อนี้ไม่ยาก ประเด็นข้อพิพาทคือจำเลยประมาทหรือไม่และโจทก์ได้รับความเสียหายเท่าใด
เรื่องการกำหนดประเด็นข้อพิพาทนั้นเราดูจากคำฟ้องและคำให้การว่าคู่ความโต้แย้งกันเรื่องใด หากโจทก์ฟ้องและจำเลยไม่ได้ให้การรับหรือปฎิเสธเสมอไม่เช่นนั้นถือว่ารับ ประเด็นนั้น ไม่เกิดเป็นประเด็นข้อพิพาท โจทก์ไม่ต้องนำสืบ ตามโจทย์เมื่อโจทก็อ้างว่าจำเลยประมาทจำเลยปฎิเสธว่าไม่ประมาทจึงเป็นเป็นประเด็นข้อพิพาทขึ้นมาว่าจำเลยประมาทหรือไม่ ส่วนเรื่องค่าเสียศาลจะกำหนดเป็นประเด็นให้โจทก์นำสืบเสมอ จำเลยไม่จำเป็นต้องให้การรับหรือปฎิเสธ
มาดู(ข)เรื่องหน้าที่นำสืบประเด็นข้อพิพาทหลักมาตรา84/1 ผู้ใดกล่าวอ้างผู้นั้นนำสืบ แต่ถ้ามีข้อสันนิษฐานเป็นคุณแก่ฝ่ายใด คู่ความฝ่ายนั้นต้องพิสูจน์เพียงว่าตนได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขแห่งการที่ตนจะได้รับประโยชน์จากข้อสันนิษฐานนั้นครบถ้วนแล้ว
กรณีนี้โจทก์เป็นฝ่ายกล่าวอ้างว่าจำเลยประมาท จริงๆโจทก์ควรเป็นฝ่ายนำสืบประเด็นนี้ แต่ว่าโจทก์กลับได้ประโยชน์จากข้อสันนิษฐานของเหตุการณ์นี้เพราะว่าถ้าจำเลยไม่ประมาท โจทก์คงไม่ต้องเข้ารับการผ่าตัดซ้ำ กรณีนี้จำเลยจึงมีหน้าที่นำสืบในประเด็นจำเลยประมาทหรือไม่
ส่วนประเด็นเรื่องความเสียหาย โจทก์ซึ่งเป็นฝ่ายกล่าวอ้างต้องนำสืบเสมอ
มาดู(ค)หน้าที่นำสืบก่อน-หลังนั้น ดูว่าประเด็นนำสืบของใครสำคัญกว่า แน่นอนตามข้อเท็จจริงเมื่อประเด็นจำเลยประมาทหรือไม่เป็นประเด็นหลักของคดีนี้และจำเลยมีหน้าที่นำสืบในประเด็นนี้ หน้าที่นำสืบก่อนจึงตกอยู่แก่จำเลย
ดูฎีกา 292/2546
/////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////
พยานวิแพ่งข้อต่อไป
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยว่าจ้างโจทก์ให้พิมพ์โฆษณากิจการของจำเลย ในหนังสือพิมพ์ของโจทก์แล้วไม่ชำระค่าจ้าง ขอให้ศาลบังคับจำเลยชำระค่าจ้าง50,000บาทตามสัญญา จำเลยให้การว่าไม่ได้ว่าจ้างให้โจทก์พิมพ์โฆษณาและไม่เคยติดค้างชำระค่าจ้างแก่โจทก์ขอให้ยกฟ้อง ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทไว้เพียงประเด็นเดียวว่า จำเลยค้างชำระค่าจ้างแก่โจทก์หรือไม่ คู่ความมิได้คัดค้านประการใด และได้นำสืบพยานหลักฐานทั้ง2ฝ่ายแล้ว ศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏจากพยานหลักฐาน ที่พยานนำสืบว่า จำเลยยังมิได้ชำระค่างจ้างแก่โจทก์จริงแต่เนื่องจากจำเลย แต่เนื่องจากจำเลยแจ้งยกเลิกคำสั่งเลิกจ้างให้โจทก์พิมพ์โฆษณานี้แล้ว เท่ากับจำเลยมิได้ว่าจ้างให้โจทก์พิมพ์โฆษณานั้นจึงไม่ต้องชำระค่าจ้างแก่โจทก์พิพากษายกฟ้อง ดังนี้คำพิพากษาศาลชั้นต้นชอบด้วยกฎหมายหรือไม่
***เมื่อศาลมิได้กำหนดประเด็นพิพาทว่าจำเลยยกเลิกสัญญาจ้างพิมพ์โฆษณาแล้วหรือไม่ และคู่ความมิได้โต้แย้งคัดค้าน เท่ากับว่าสละประเด็นนี้ไปแล้ว ศาลจึงสืบประเด็นนี้ไม่ได้
***เมื่อศาลไม่ได้กำหนดประเด็นจะพิจารณาพยานหลักฐานในประเด็นนี้เป็นการต้องห้ามตามม.86ว.2(ใช้ตอนสืบพยาน)
***แต่ถ้าศาลตัดสินไปแล้วโดยพิจารณาจากหลักฐานนอกประเด็น เป็นการพิพากษาเกินคำขอต้องห้ามตามม.142วิ.แพ่ง(ใช้ตอนที่ตัดสินแล้ว)
เพราะฉะนั้นคำพิพากษาศาลชั้นต้นจึงเป็นคำพิพากษาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
/////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////
พยาน วิ. อาญา
คำถามพนักงานอัยการโจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานข่มขืนกระทำชำเราผู้เสียหายซึ่งเป็นหญิงอายุ20ปี จำเลยให้การปฏิเสธว่าตนไม่ได้เป็นผู้กระทำผิดในคดีนี้ ชั้นพิจารณาโจทก์นำสืบพยานแสดงถึงประวัติอาชญากรรมของจำเลยว่าเคยกระทำผิดฐานข่มขืนกระทำชำเราหญิงอื่นและถูกศาลพิพากษาลงโทษจำคุกมาแล้วครั้งหนึ่ง พ้นโทษมาไม่นานก็มาถูกดำเนินคดีนี้ ส่วนจำเลยขอสืบพยานหลักฐานถึงพฤติกรรมทางเพศของผู้เสียหายที่เคยมีเพศสัมพันธ์กับผู้ชายมาก่อน3คนก่อนเกิดเหตุคดีนี้เพื่อพิสูจน์ความบริสุทธิ์ของตน ให้วินิจฉัยว่าศาลจะรับฟังพยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบได้หรือไม่และศาลจะไม่อนุญาติใหจำเลยนำสืบพยานหลักฐานดังกล่าวได้หรือไม่
เรื่องนี้เป็นกฎหมายใหม่ซึ่งตรงหลักมาตรา226/2,226/4 เป๊ะๆ ไม่ยากคะดูในตัวบทได้เลย
////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////

พยานวิอาญาข้อต่อไป
นายดำถูกจับกุมในข้อหาฆ่าผู้อื่นโดยเจตนา พนักงานสอบสวนแจ้งให้นายดำทราบถึงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการกระทำที่ถูกกล่าวหาและแจ้งข้อหารวมทั้งสิทธิต่างโดยชอบแล้ว นายดำปฎิเสธพนักงานสอบสวนจึงบอกแก่นายดำว่าหากให้การรับสารภาพจะให้ประกันตัวนายดำจึงรับสารภาพและแจ้งว่าได้นำไปซุกซ่อนไว้ที่บ้านของนายแดง พนักงานสอบสวนจึงขอให้ศาลออกหมายค้นบ้านนายแดง แล้วนำไปค้นพบอาวุธปืนที่ใช้ยิงผู้ตายจึงยึดมาเป็นของกลาง
ให้วินิจฉัยว่าศาลจะรับฟังคำให้การรับสารภาพของนายดำในชั้นสอบสวนและอาวุธที่ใช้ในการกระทำความผิดได้หรือไม่เพียงใด
ดูเรียงมาจากม.84วรรคท้ายเลย***คำรับสารภาพรับฟังไม่ได้เลย***
เพราะฉะนั้นคำรับสารภาพของนายดำในชั้นสอบสวนตัดไปเลยต้องห้ามรับฟังเด็ดขาด
ส่วนปืนที่ค้นได้มาเนื่องจากข้อมูลของคำให้การที่ไม่ชอบ ที่บอกว่าไม่ชอบเพราะว่าม.135กำหนดว่าการถามปากคำผู้ต้องห้ามมิให้พนักงานสอบสวนให้คำมั่นหรือขู่เข็ญ
เมื่อการที่พนักงานสอบสวนบอกว่าถ้าไม่รับสารภาพจะไม่ได้ประกันตัวเป็นการขู่เข็ญผู้ต้องหาและผลของคำให้การอันเกิดจากการขู่เข็ญนี้อยู่ที่ม.226ไม่ถือเป็นพยานหลักฐานที่รับฟังได้ แต่ปืนนั้นมันมีอยู่แล้วโดยชอบเพียงแต่ว่าการที่ไปค้นเจอนั้นเป็นการอาศัยขากข้อมูลที่ได้มาโดยมิชอบ(ได้มาจากการขู่เข็ญ)ถึงแม้หลักม.226/1จะห้ามมิให้รับฟังแต่ก็อาจจะเข้าข้อยกเว้นให้รับฟังได้ ถ้าการรับฟังพยานหลักฐานนั้นเป็นประโยชน์ต่อการอำนวยความยุติธรรมฯ เพราะฉะนั้นปืนที่เป็นของกลางนี้รับฟังเป็นพยานหลักฐานได้ตามม.226/1
///////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////
อาจารย์ได้ย้ำถึงมาตรา 134/4 วรรคท้ายว่ายังไม่มีความเห็นที่ยุติว่าเป็นการตัดเด็ดขาดหรือเข้าข้อยกเว้นม.226/1ได้หรือไม่ เพราะฉะนั้นเวลาเราตอบข้อสอบเราตอบแต่เพียงว่าเป็นพยานหลักฐานที่ชอบหรือไม่ ไม่ต้องไปตอบว่ารับฟังได้หรือไม่ให้อาจารย์ไปตีความกันเอาเองตอนทำธงคำตอบ



เรื่องพยานอาจารย์เน้นๆดังนี้
ในส่วนวิแพ่ง
อาจารย์ให้ดูการกำหนดประเด็นข้อพิพาทและเรื่องคำท้าไว้ด้วย คำท้าที่เป็นหมันมีผลอย่างไร ทายาทของคู่ความต้องผูกพันไหม
ในส่วนวิอาญานั้น
ดูกฎหมายใหม่ออกชัวล์ๆแต่ไม่รู้ว่าออกมาตราไหนจึงอยากให้ดูม.84/1 ม.226/,ม.226/2,ม.226/4 ไว้ให้ดี



หวังว่าคงอ่านกันแล้วพอจะเข้าใจนะคะ
พยายามสุดความสามารถแล้วได้แค่นี้-*-
พอดีรีบด้วย กลัวเพื่อนๆจะได้อ่านช้า
ถึงแม้ข้อสอบจะไม่ได้ออกตรงๆที่อาจารย์ติว
แต่คิดว่าต้องมีบางเรื่องบางประเด็นที่อยู่ในสรุปนี้
ซ่อนอยู่ในข้อสอบอย่างแน่นอน
โชคดีในการสอบทุกท่านนะคะ รวมทั้งเราด้วย^_^








ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น