วันจันทร์ที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

สรุปติวเนติที่ขอนแก่น วิ.อาญา

สรุปติวเนติ์ที่ขอนแก่น
วิอาญา ภาค 1
ม.5+ม.2(4)
มาตรา5ส่วนใหญ่ออก(1)(2)
ฎีกา7640/2550
/////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////
ม.29ตายก่อนฟ้อง(คดีความผิดส่วนตัว)คดีตายตามผู้เสียหาย
ฟ้องแล้วตาย เข้าม.29(1)
แต่ถ้าผู้ว่าคดีต่างผู้ตายฟ้องคดีแล้วตายลง ผู้สืบสันดาน หรือผู้แทนโดยชอบธรรมจะเข้าว่าคดีอาญาแทนไม่ได้
ไม่เข้าม.29 เพราะมิใช่กรณีผู้เสียหายที่แท้จริงฟ้องคดีและตายลง
ฎีกา5884/2550
/////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////
เขตอำนาจสอบสวน
ม.18
คดีนี้เกิดการยิงกันที่สน.ลุมพินี แต่ผู้เสียหายมีที่อยู่ในพื้นที่สน.ตลิ่งชัน และไปตายร.พ.ศิริราช ท้องที่ของพนักงานสอบสวนสน.บางกอกน้อย
พนักงานสอบสวนสน.ลุมพินี คือ พนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบเพราะเป็นท้องที่ที่ความผิดเกิด
สน.ตลิ่งชัน สอบสวนไม่ได้เพราะไม่ใช่ท้องที่ที่ความผิดเกิด หรือจำเลยมีที่อยู่
หรือถูกจับ
ส่วนพนักงานสอบสวนบางกอกน้อยก็ไม่ทีอำนาจสอบสวนเช่นกันเพราะท้องที่ที่ผลของการกระทำความผิดได้เกิดนั้นไม่ได้อยู่ในบัญญัติม.18
***พนักงานสอบสวนสน.บางกอกน้อยมีอำนาจสอบสวนชันสูตรพลิกศพเพราะเป็นท้องที่ที่ศพนั้นอยู่(อำนาจสอบสวนชันสูตรพลิกศพตามม.150เท่านั้น ไม่มีอำนาจสอบสวนการกระทำความผิดในคดีนี้)อาจารย์จะไปสอนเรื่องการชันสูตรพลิกศพโดยละเอียดอีกทีหนึ่ง
/////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////
ดูเรื่องพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบ
ม.19
ดูว่าอะไรเป็นความผิดต่อเนื่อง
ตัวอย่างฎีกาที่ไม่ใช่ความผิดต่อเนื่อง
ฎีกา1756/2550
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยทั้งสองร่วมกันมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย 570 เม็ด และจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนดังกล่าว 70 เม็ด แก่ผู้มีชื่อ และโจทก์นำสืบว่า เจ้าพนักงานตำรวจจับจำเลยทั้งสองพร้อมยึดเมทแอมเฟตามีน 500 เม็ด และจับพวกจำเลยเจ็ดคน พร้อมยึดเมทแอมเฟตามีนที่บุคคลทั้งเจ็ดซื้อจากจำเลยทั้งสองคนละ 10 เม็ด ได้ที่บ้านจำเลยที่ 2 ซึ่งอยู่ในท้องที่สถานที่ตำรวจนครบาลแสมดำ การมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายและการจำหน่าย จึงเกิดในท้องที่สถานีตำรวจนครบาลแสมดำทั้งสิ้น และโจทก์มิได้ฟ้องว่าจำเลยที่ 1 ร่วมกระทำความผิดกับพวกจำเลยอีก 2 คนที่ถูกจับในท้องที่สถานีตำรวจนครบาลบางบอน การกระทำของจำเลยที่ 1 ก็มิใช่ความผิดต่อเนื่องและกระทำต่อเนื่องกันในท้องที่ต่าง ๆ เกินกว่าท้องที่หนึ่งขึ้นไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 19 (3) จึงอยู่ในเขตอำนาจของพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจนครบาลแสมดำตามมาตรา 18 วรรคสอง ประกอบมาตรา 2 (6) มิใช่อยู่ในเขตอำนาจของพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจนครบาลบางบอนที่สอบสวนคดีนี้ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องตามมาตรา 120
/////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////
ดูเรื่องพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบ ม.19
ม.20
การทำผิดในเรื่อไทย อากาศยานไทย ขณะที่อยู่ในต่างประเทศ เป็นการกระทำนอกราชอาณาจักร
***แต่อ่าวไทย ถือเป็นดินแดนของไทย
ตามม.20พนักงานอัยการที่ได้รับมอบหมายมีอำนาจเป็นพนักงานสอบสวนและถ้าได้รับมอบให้เป็นพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบด้วยมีอำนาจสั่งคดีด้วย
แต่ถ้าเป็นกรณี.4พนักงานอัยการมีอำนาจแค่ให้คำแนะนำ แต่ไม่มีอำนาจสั่งคดี
ว.5(1)(2)พนักงานสอบสวนมีอำนาจสอบสวนชั่วคราวเท่านั้น(ระหว่างรอคำสั่งของอัยการสูงสุด) แต่ไม่ใช่พนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบ เว้นแต่อัยการจะได้มีคำสั่งมอบหมายมาทีหลัง
***เขียนฟ้อง ยื่นฟ้อง เรียงฟ้องคดีตามม.20 อัยการคนใดทำก็ได้
***การสั่งฟ้องหรือไม่ฟ้องเป็นอำนาจอัยการสูงสุดเท่านั้น***(เป็นเจตนารมณ์ของกฎหมาย)
/////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////
การชันสูตรพลิกศพ
คดีที่ต้องมีการชันสูตรพลิกศพคือกรณีตามม.148
ม.129 ห้ามฟ้องจนกว่าจะได้ชันสูตรพลิกศพเสร็จแล้ว ห้ามแต่อัยการฟ้องเท่านั้น ไม่ได้ห้ามในกรณีเอกชนฟ้อง
***แพทย์ยังชันสูตนอยู่ ถือว่ายังไม่เสร็จ
***แต่ถ้าไม่มีการชันสูตรพลิกศพเลย ไม่ห้ามฟ้อง
***ชันสูตรไม่ชอบแต่ว่าเสร็จแล้ว ฟ้องได้
หลักเกณฑ์การชันสูตรพลิกศพอยู่ที่ม.150
ว.1 ไม่มีอะไรเพราะเป็นกรณีที่ตายจากการกระทำของเอกชนด้วยกันมีผู้ร่วมชันสูตรเพียง2ฝ่ายคือพนักงานสอบสวนกับแพทย์ทางนิติเวชฯ
ว.3 ความตายเกิดขึ้นโดยการกระทำของเจ้าพนักงานซึ่งอ้างว่าปฎิบัติราชการตามหน้าที่หรือตายระหว่างอยู่ในความควบคุมของเจ้าพนักงานซึ่งอ้างว่าปฎิบัติราชการตามหน้าที่มีผู้เข้าร่วม4ฝ่าย คือ อัยการ พนักงานฝ่ายปกครอง พนักงานสอบสวน และแพทย์
เมื่อชันสูตรเสร็จแล้วต่อไปก็เป็นหน้าที่ของพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบ เข้าเรื่องสอบสวนในกรณีคดีวิสามัญฯแล้ว
ม.155/1แจ้งให้อัยการเข้าร่วมในการสอบสวนด้วยในคดีวิสามัญ(ความตายเกิดขึ้นโดยการกระทำของเจ้าพนักงานซึ่งอ้างว่าปฎิบัติราชการตามหน้าที่หรือตายระหว่างอยู่ในความควบคุมของเจ้าพนักงานซึ่งอ้างว่าปฎิบัติราชการตามหน้าที่)รวมหมดทุกคดีไม่ว่าพนักงานสอบสวนจะเจตนาฆ่าหรือไม่ได้เจตนาฆ่า คดีนี้พนักงานสอบสวนสอบสวนและมีคำสั่งในคดีและส่งไปให้พนักงานอัยการคนใดก็ได้ในท้องที่ที่ทำการสอบสวนนั้นมีอำนาจสั่งฟ้องหรือไม่ฟ้องได้เลย
***แต่ถ้าสอบสวนแล้วเป็นการฆาตกรรมคือเจ้าพนักงานเจตนาฆ่าจะไปเข้าม.143ว.ท้ายคืออัยการสูงสุดเท่านั้นมีอำนาจออกคำสั่งฟ้องหรือไม่ฟ้อง

เมื่อบรรยายถึงหัวข้อนี้อาจารย์มีโจทย์ให้ทำด้วย คำถามดังนี้
เอกบุรุกบ้านโท และเอกมีปากเสียงกับโท โทจึงใช้ไม่ตีศรีษะเอกจนเอกสลบ โทไปแจ้งความต่อพันตำรวจตรีสมชายพนักงานสอบสวนสน.พญาไทว่าเอกบุรุก พันตำรวจตรีจึงไปบ้านโทพบเอกนอนสลบอยู่จึงนำพาส่งร.พ.ตำรวจ เขตพื้นที่สน.ปทุมวัน เอกถึงแก่ความตายขณะที่พันตำรวจตรีสมชายพาไปร.พ.ตำรวจ พันตำรวจตรีสมชายร่วมกับแพทย์ขันสูตรพลิกศพเอก โดยมิได้ทำสำนวนสอบสวนเสนออัยการแต่สรุปสำนวนการสอบสวนและมีความเห็นสั่งฟ้องนายโทฐานทำร้ายร่างกายผู้อื่นจนเป็นเหตุให้ถึงแก่ความตายเสนอพนักงานอัยการสำนักงานคดีอาญา ต่อมาอัยการฟ้องนายโทในความผิดฐานดังกล่าว โดยมิได้เสนอให้อัยการสูงสุดออกคำสั่ง
(ก) ให้วินิจฉัยว่าการชันสูตรพลิกศพเอกชอบด้วยกฎหมายหรือไม่
(ข) พนักงานอัยการสำนักงานคดีอาญามีอำนาจฟ้องคดีนี้หรือไม่
ธงคำตอบ(ก)ให้วินิจฉัยว่าการชันสูตรพลิกศพเอกชอบด้วยกฎหมายหรือไม่
***ต้องดูก่อนว่าความตายเกิดจากการถูกผู้อื่นทำให้ตายหรือไม่ ถ้าใช่ก็เข้าเรื่องชันสูตรตามหลักมาตรา149+150ว.1
***ถ้าเป็นการตายโดยเกิดจากการกระทำของพนักงานซึ่งอ้างว่าปฎิบัติราชการตามหน้าที่หรือตายระหว่างอยู่ในความควบคุมของเจ้าพนักงานซึ่งอ้างว่าปฎิบัติราชการตามหน้าที่ การชันสูตรจะเข้าม.150ว.3
ตามข้อเท็จจริง เอกตายขณะที่พันตำรวจตรีสมชายพาส่งโรงพยาบาล ไม่ถือว่าอยู่ในความควบคุมของเจ้าพนักงานเพราะถึงแม้ว่าโทจะไปแจ้งความร้องทุกข์ว่าเอกบุกรุก แต่พนักงานสอบสวนก็ยังมิได้แจ้งข้อหา ยังไม่ถือว่าถูกจับกุม เอกจึงไม่ได้อยู่ในควบคุมของเจ้าพนักงาน คดีนี้จึงเป็นการตายโดยการถูกผู้อื่นทำให้ตาย เข้าหลักชันสูตรแค่ม.150ว.1เท่านั้น
***เมื่อเป็นกรณีตามม.150ว.1 ผู้ที่ร่วมชันสูตรพลอกศพจึงมีแค่2ฝ่ายคือพนักงานสอบสวนท้องที่ที่ศพนั้นอยุ่กับแพทย์ทางนิติเวชฯ
***พนักงานสอบสวนที่มีอำนาจเข้าร่วมชันสูตรคือพนักงานสอบสวนสน.ปทุมวันเพราะเป็นท้องที่ที่ศพนั้นอยู่ เมื่อพันตำรวจตรีสมชายซึ่งมิใช่พนักงานสอบสวนแห่งท้องที่ที่ศพนั้นอยู่เข้าร่มชันสูตรฯการชันสูตรจึงไม่ชอบ
ตาม(ก)ตอบว่าการชันสูตรพลิกศพของเอกไม่ชอบด้วยกฎหมาย
มาดู (ข)พนักงานอัยการสำนักงานคดีอาญามีอำนาจฟ้องคดีนี้หรือไม่
***เมื่อเรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องคดีฆาตกรรมจากเจ้าพนักงาน จึงไม่เข้าม.143ว.ท้าย ไม่ต้องเสนอสำนวนไปให้อัยการสูงสุดเป็นผู้สั่ง อัยการสำนักงานคดีอาญาจึงมีอำนาจสั่ง
***และแม้การชันสูตรฯจะไม่ชอบด้วยกฎหมายก็ไม่มีกฎหมายห้ามให้ฟ้องคดี
เพราะม.129ห้ามมิให้ฟ้องจนกว่าจะชันสูตรฯเสร็จ แต่ไม่ได้ห้ามในกรณีที่ชันสูตรเสร็จแล้วแต่การชันสูตรไม่ชอบ เพราะฉะนั้นอัยการสำนักงานคดีอาญาฟ้องคดีได้
ฎีกา363/2593กฎหมายหาได้ห้ามไม่ให้ฟ้องในกรณีที่ไม่มีการชันสูตรพลิกศพไม่และแม้การชันสูตรพลิกศพจะไม่ชอบ ก็ไม่มีกฎหมายห้ามไม่ให้ฟ้อง
////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////
ต่อไปอาจารย์พูดถึงเรื่องการจับ กับการ ค้น
มีโจทย์ให้ทำดังนี้
จ่าสิบตำรวจเก่งสืบทราบจากสายลับว่านายแดงกำลังนำยาบ้าไปจำหน่ายแก่ผู้ซื้อ จึงเข้าตรวจค้นนายแดงเวลากลางวัน ขณะกำลังขายก๋วยเตี๋ยวที่ร้านนายแดง ซึ่งมีลูกค้ากำลังรับประทานก๋วยเตี๋ยวอยู่ โดยไม่มีหมายค้นพบยาบ้า50เม็ดอยู่ในกระเป๋าสตางค์ที่คาดเอวของนายแดง จ่าสิบตำรวจเก่งจับนายแดงดำเนินคดีข้อหามียาบ้าไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย จ่าสิบตำรวจเก่งทำการจับและค้นชอบด้วยกฎหมายหรือไม่






อาจารย์ลำดับความคิดดังนี้
ให้ดูเรื่องการจับโดยไม่มีหมายก่อน ว่ามีมาตราใดให้อำนาจไว้ ซึ่งคือม.78
มาตรา78 ให้จับได้ในกรณีเป็นความผิดซึ่งหน้า อาจารย์ก็ให้ไปดูว่าอะไรเรียกว่าความผิดซึ่งหน้า ซึ่งมีในม.80 เพราะฉะนั้นกรณีตามโจทย์เนี่ยถือว่านายแดงทำความผิดซึ่งหน้าไหม ตอบว่าใช่เพราะเมื่อค้นและพบยาบ้าอยู่ในครอบครองของนายแดงก็ถือว่านายแดงได้กระทำความผิดซึ่งหน้าแล้ว เพราะของที่มีไว้เป็นความผิดเนี่ยผู้ครอบครองกระทำผิดอยู่ตลอดเวลาที่ครอบครอง เพราะฉะนั้นเมื่อเป็นการกระทำผิดซึ่งหน้าตามม.80 จึงมีอำนาจจับได้โดยไม่มีหมายตามมาตรา78 การจับจึงชอบด้วยกฎหมาย
ทีนี้มาดูเรื่องการค้น อาจารย์ลำดับความคิดดังนี้
การค้นในที่รโหฐานนั้นต้องมีหมายจับ ตามม.92 แต่ม.92 ก็มีข้อยกเว้นอีก5 กรณีที่สามารถค้นได้โดยไม่มีหมาย***ซึ่งข้อสอบมักออก(4)
และอาจารย์ก็พูดถึงเรื่องการค้นตัวบุคคลในที่สาธารณสถานม.93ซึ่งให้อำนาจตำรวจค้นได้เมื่อมีเหตุสงสัยว่าบุคคลนั้นมีสิ่งของในครอบครองซึ่งมีไว้เป็นความผิด
มาดูตามข้อเท็จจริงการค้นของจ่าสิบตำรวจเก่งต้องมีหมายค้นไหมในกรณีนี้
1.การค้นนั้นได้ค้นในที่รโหฐานหรือไม่ เพราะฉะนั้นต้องมาดูว่าร้านก๋วยเตี๋ยวเป็นที่รโหฐานหรือไม่ ตอบว่า ไม่ใช่ ร้านก๋วยเตี๋ยวเป็นที่สาธารณสถานการที่จ่าสิบตำรวจแดงเข้าไปจึงไม่ต้องมีหมายค้น
2.แล้วการค้นตัวนายแดงซึ่งเป็นการค้นตัวนายแดงในที่สาธารณสถานนั้นชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ เมื่อม.93 กำหนดไว้ว่าการค้นตัวบุคคลใดในที่สาธารณสถานต้องเป็นการค้นโดยตำรวจหรือพนักงานฝ่ายปกครอง และมีเหตุอันควรสงสัยด้วยว่าบุคคลนั้นมีสิ่งไว้ในครอบครองซึ่งมีไว้เป็นความผิด จากข้อเท็จจริงมีเหตุอันควรสงสัยอยู่แล้วเพราะจ่าสิบตำรวจเก่งได้รับแจ้งมาจากสายลับว่านายแดงมียาบ้าไว้ในครอบครอง จ่าสิบตำรวจเก่งจึงค้นตัวนายแดงได้
เพราะฉะนั้นการจับและค้นจึงชอบด้วยกฎหมาย
ฎีกา3751/2551


///////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////
ต่อไปเป็นเรื่องการสอบสวน
ตำรวจสน.สุพรรณบุรีร่วมจับกุมนายเฉลิมอายุ17ปีเศษ ตามหมายจับศาลสุพรรณบุรีในข้อหาลักทรัพย์ในเวลากลางคืน ก่อนเริ่มสอบปากคำไม่ได้สอบถามเรื่องทนายและไม่ได้จัดทนายให้นายเฉลิม แต่ถามว่าต้องการให้บุคคลใดเข้าร่วมในการสอบปากคำหรือไม่ ผู้ต้องหาไม่ต้องการ การสอบปากคำจึงไม่มีพนักงานอัยการ ไม่มีสหวิชาชีพ พนักงานสอบสวนสรุปความเห็นควรสั่งฟ้องเสนอพนักงานอัยการจังหวัดสุพรรณบุรีหากพนักงานอัยการเห็นว่าในการที่ผู้ต้องหาลักเมล็ดข้าวในนาข้าวของผู้เสียหายนั้น ได้ใช้รถเกี่ยวข้าว เกี่ยวต้นข้าวในนาของผู้เสียหาย พนักงานอัยการจึงสั่งฟ้อง โดยไม่ได้สั่งให้พนักงานสอบสวนแจ้งข้อหาเพิ่มเติมใดๆ พนักงานสอบสวน สอบสวนชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ และพนักงานอัยการมีอำนาจฟ้องในข้อหาลักทรัพย์ในเวลากลางคืนโดยใช้ยานพาหนะได้หรือไม่
อาจารย์ลำดับความคิดดังนี้
ดูเรื่องการสอบสวนผู้ต้องหาเด็กก่อน
ม.134/2 ให้นำบทบัญญัติในมาตรา133ทวิมาใช้บังคับโดยอนุโลม
ซึ่งหมายความว่าการสอบปากคำเด็กตามความผิดที่ระบุไว้ในม.133ทวิ (9 ฐาน)นั้น การถามปากคำผู้เสียหายต้องมีสหวิชาชีพ พนักงานอัยการ และบุคคลที่เด็กร้องขออยู่ด้วยในการถามปากคำ บังคับเลย ห้ามสละสิทธิ์
***แต่ถ้ามิใช่ความผิด 9 ฐานนี้ และคดีนั้นมีโทษจำคุก(ไม่มีขั้นต่ำ โทษแค่ 1 วันก็ได้)
จะต้องจัดให้ในกรณีที่เด็กร้องขอเท่านั้นจึงจะใช้วิธีการสำหรับเด็ก ถ้าเด็กไม่ขอไม่ต้องจัดให้
ในเมื่อม.134/2ให้นำม.133ทวิมาใช้ นายเฉลิมเป็นผู้ต้องหาเด็ก ในคดีลักทรัพย์ (คดีลักทรัพย์ไม่ใช่ความผิด 9 ฐานที่กฎหมายบังคับตามม.133ทวิ แต่มีโทษจำคุก)
มิได้ร้องขอให้ใช้วิธีการสำหรับเด็กตาม.133ทวิ พนักงานสอบสวนจึงสอบสวนได้โดยไม่ได้จัดให้มีสหวิชาชีพ พนักงานอัยการ และบุคคลที่เด็กร้องขอเข้าร่วมในการ
สอบปากคำผู้ต้องหาเด็ก


ต่อไปมาดูเรื่องสิทธิของผู้ต้องหาในการมีทนาย ม.134/1
ซึ่งวรรค1บังคับไว้เลยว่าในคดีที่มีโทษประหารชีวิตหรือผู้ต้องหาเป็นเด็กอายุไม่เกิน18ปีในวันที่พนักงานสอบสวนแจ้งข้อหา ก่อนเริ่มถามคำให้การพนักงานสอบสวนต้องถามเรื่องทนายถ้าไม่มีต้องจัดหาให้เท่านั้น ไม่มีข้อยกเว้น เพราะฉะนั้นเมื่อการสอบปากคำนายเฉลิมผู้ต้องหาเด็กพนักงานสอบสวนไม่ได้จัดทนายให้ จึงเป็นการสอบสวนที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
และบทลงโทษของการไม่ปฏิบัติตามม.134/1อยู่ที่ม.134/4ว.ท้าย คือไม่สามารถรับฟังคำให้การเป็นพยานหลักฐานในการพิสูจน์ความผิดของผู้นั้นเท่านั้น เป็นบทตัดพยาน ไม่ได้ทำให้การสอบสวนเสียไป ไม่ตัดสิทธิ์อัยการในการฟ้องผู้ต้องหา
เพราะมิใช่ บทตัดการสอบสวน ***บทตัดการสอบสวนอยู่ม.134และม.120***
ทีนี้มาดูว่าอัยการมีอำนาจฟ้องข้อหาลักทรัพย์ในเวลากลางคืนโดยใช้ยานพาหนะหรือไม่
ถึงแม้พนักงานอัยการไม่ได้สั่งให้พนักงานสอบสวนแจ้งข้อหาเพิ่มเติม แต่มันจะมาเข้าข้อยกเว้นว่าข้อหาที่เกี่ยวพันกันไม่ต้องแจ้งทุกข้อหา และถือว่าได้สอบสวนในข้อหานั้นแล้ว เมื่อปรากฏตามการสอบสวนว่าได้ใช้ยานพาหนะ จึงมีอำนาจฟ้องข้อหานี้ได้
ฎีกา7888/49ในกรณีการกระทำความผิดกฎหมายหลายบทหรือหลายกรรมต่างกัน พนักงานสอบสวนหาจำต้องระบุถึงกฎหมายที่เป็นความผิดทุกบทมาตราหรือทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไม่ แต่เมื่อใดแจ้งข้อหาอันเป็นหลักความผิดทั่วไปแล้ว ก็ไม่จำต้องแจ้งข้อหาความผิดอันเกี่ยวพันกันด้วยอีก พนักงานสอบสวนก็มีอำนาจสอบสวนความผิดทุกข้อหาได้ เมื่อพนักงานสอบสวนแจ้งข้อหาแก่จำเลยที่ 2 ว่า ร่วมกับจำเลยที่ 1 ฆ่าผู้ตายโดยไตร่ตรองไว้ก่อนแล้ว แม้ไม่แจ้งข้อหาว่ามีอาวุธปืนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับใบอนุญาต อันมีองค์ประกอบความผิดแตกต่างออกไป และอยู่ในกฎหมายต่างฉบับกัน ก็มีอำนาจสอบสวนความผิดฐานมีอาวุธปืนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับใบอนุญาตได้ ถือได้ว่ามีการสอบสวนความผิดฐานนี้แล้ว พนักงานอัยการโจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2 ในข้อหานี้ได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 120
เจ้าพนักงานตำรวจยึดอาวุธปืนของกลางได้จากที่บ้านของจำเลยที่ 2 อาวุธปืนดังกล่าวไม่มีเลขทะเบียนโดยถูกต้อง ชั้นจับกุมและชั้นสอบสวนจำเลยที่ 2 ให้การรับสารภาพในข้อหานี้มาโดยตลอด เพียงพอให้รับฟังได้ว่า จำเลยที่ 2 กระทำความผิดฐานมีอาวุธปืนของกลางไปในทางสาธารณะนั้น จากพยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบไม่มีพยานคนใดยืนยันว่าจำเลยที่ 2 พาอาวุธของกลางดังกล่าวติดตัวไปในทางสาธารณะด้วยแต่อย่างใด แม้จำเลยที่ 2 จะให้การรับสารภาพข้อหานี้ในชั้นจับกุมและชั้นสอบสวน ข้อเท็จจริงก็ยังไม่เพียงพอให้รับฟังว่า จำเลยที่ 2 กระทำความผิดในข้อหานี้
ฎีกา3759/50
การที่พนักงานสอบสวนแจ้งข้อหาให้จำเลยทราบตาม ป.วิ.อ. มาตรา 134 (เดิม) ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้ในขณะที่จำเลยกระทำความผิด เพื่อให้ผู้ต้องหาทราบว่าการกระทำของผู้ต้องหาเป็นความผิดและเพื่อให้ผู้ต้องหาเข้าใจถึงการกระทำของผู้ต้องหาซึ่งเป็นความผิดนั้น โดยไม่ต้องแจ้งข้อหาทุกกระทงความผิด เมื่อแจ้งข้อหาอันเป็นหลักแห่งความผิดแล้วก็ไม่จำต้องแจ้งข้อหาความผิดอันเกี่ยวพันกันด้วยอีกพนักงานสอบสวนมีอำนาจสอบสวนความผิดทุกข้อหาได้ กรณีของจำเลยเมื่อพนักงานสอบสวนแจ้งข้อหาว่าจำเลยทำร้ายร่างกายผู้อื่นเป็นเหตุให้ได้รับอันตรายสาหัสแล้ว แม้ไม่แจ้งข้อหาว่าพยายามฆ่าผู้อื่นซึ่งเป็นความผิดที่เกี่ยวพันกัน พนักงานสอบสวนก็มีอำนาจสอบสวนความผิดฐานพยายามฆ่าผู้อื่น ถือได้ว่ามีการสอบสวนความผิดฐานดังกล่าวแล้ว พนักงานอัยการโจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยในข้อหาพยายามฆ่าผู้อื่นตาม ป.วิ.อ. มาตรา 120
จำเลยใช้อาวุธสปาต้ายาวประมาณ 1 ฟุตครึ่ง ซึ่งเป็นมีดขนาดใหญ่ที่อาจใช้เป็นอาวุธฟันทำอันตรายบุคคลอื่นถึงแก่ความตายได้ ฟันบริเวณศีรษะของโจทก์ร่วมซึ่งเป็นอวัยวะสำคัญจนกะโหลกศีรษะแตกยุบและสมองฉีกขาด แสดงให้เห็นว่าโจทก์ร่วมถูกจำเลยใช้อาวุธสปาต้าฟันอย่างแรง และเป็นการเลือกฟันที่ส่วนสำคัญของร่างกาย ประกอบกับแพทย์ผู้ตรวจร่างกายโจทก์ร่วมให้การว่า บาดแผลของโจทก์ร่วมต้องรีบรักษา หากล่าช้าอาจถึงแก่ความตายได้เนื่องจากเลือดออกมาก บาดแผลติดเชื้อเข้าไปในสมองและมีเลือดคั่งในสมองมาก แม้จำเลยจะฟันโจทก์ร่วมเพียงครั้งเดียว จำเลยย่อมเล็งเห็นผลได้ว่าโจทก์ร่วมอาจถึงแก่ความตายได้ ถ้าหากไม่ได้รับการรักษาพยาบาลจากแพทย์ทันท่วงที การกระทำของจำเลยจึงฟังได้ว่าเป็นการกระทำโดยมีเจตนาฆ่าโจทก์ร่วม เมื่อโจทก์ร่วมไม่ถึงแก่ความตาย จำเลยจึงมีความผิดฐานพยายามฆ่าโจทก์ร่วม
//////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////
ต่อไปอาจารย์ขึ้นม.140,141,142****(ซึ่งอาจารย์เน้นว่าควรไปดูมาให้แม่นๆ)
มีคำถามดังนี้
นายบุญธรรมร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวน ให้ดำเนินคดีกับนายสมคิดและนายวิชัย ฐานร่วมกันชิงทรัพย์ พนักงานสอบสวนสอบปากคำนายบุญธรรมไว้เป็นพนาย ต่อมานายสมคิดทราบเรื่องจึงเข้าหาพนักงานสอบสวน พนักงานสอบสวนได้สอบคำให้การนายสมคิดในฐานะผู้ต้องหาแล้วปล่อยตัวไป โดยให้มาพบพนักงงานสอบสวนเมื่อมีหมายเรียก ส่วนนายวิชัยหบลหนีไป หลังจากนั้นพนักงานสอบสวนได้สอบสวนพยานอีกหลายปาก จนเสร็จสิ้น พนักงานสอบสวนออกหมายเรียกให้นายสมคิดมาพบเพื่อนำตัวส่งอัยการพร้อมสำนวนสอบสวนแต่นายสมคิดหลบหนีไปไม่มาตามหมายเรียก พนักงานสอบสวนยื่นคำร้องขอหมายจับต่อศาล ศาลออกหมายจับผู้ต้องหาทั้งสองไว้ พนักงานสอบสวนเห็นว่าเป็นสำนวนสอบสวนผู้ต้องหาผู้ต้องหาหลบหนี จึงส่งสำนวนไปยังอัยการโดยไม่มีผู้ต้องหาไปด้วยและทำความเห็นในสำนวนสอบสวนดังนี้
(ก)พนักงานสอบสวนทำความเห็นว่าการกระทำของนายสมคิดเป็นความผิดตามข้อกล่าวหา จึงทำความเห็นควรสั่งฟ้องเสนอสำนวนสอบสวนไปยังอัยการ
(ข)พนักงานสอบสวนทำความเห็นว่าการกระทำของนายวิชัยไม่เป็นความผิดฐานชิงทรัพย์จึงทำความเห็นควรสั่งไม่ฟ้อง
กรณีตาม(ก)และ(ข)พนักงานอัยการจะรับสำนวนไว้พิจารณาเพื่อสั่งคดีได้หรือไม่
อาจารย์ให้เรียงลำดับความคิดดังนี้ เรื่องนี้เป็นการสั่งคดีของพนักงานสอบสวนและพนักงานอัยการ ดูที่ม.141ก่อน
ถ้ารู้ตัวผู้กระผิด แต่เรียกและจับตัวยังไม่ได้ เมื่อได้ความตามทางสอบสวนอย่างใดให้ทำความเห็นว่าควรสั่งฟ้องหรือไม่ฟ้องส่งไปยังพนักงานอัยการ
ถ้าพนักงานอัยการเห็นชอบด้วยว่าควรสั่งไม่ฟ้องให้ยุติการสอบสวนโดยสั่งไม่ฟ้อง และให้แจ้งคำสั่งนี้ให้พนักงานสอบสวนทราบ
***ซึ่งหลักของม.141 ว.1และว.2 นั้น ในกรณีที่คดีนั้นรู้ตัวผู้กระทำผิดแล้ว แต่เรียกหรือจับตัวยังไมได้ พนักงานสอบสวนมีอำนาจทำความเห็นได้ทั้งควรสั่งฟ้องหรือไม่ฟ้องได้ทั้ง2คำสั่ง ซึ่งในกรณีที่อัยการเห็นด้วยกับคำสั่งไม่ฟ้องก็ยุติการสอบสวนโดยมีคำสั่งไม่ฟ้องได้เลย คิอสามารถรับสำสวนมาพิจารณาแล้วมีคำสั่งไม่ฟ้องได้
***แต่ถ้าอัยการเห็นว่าควรสั่งฟ้อง ก็สามารถมีคำสั่งให้จัดการเพื่อให้ได้ตัวผู้ต้องหามา
****กรณีตามม.141 นี้ ไม่ว่าพนักงานสอบสวนจะมีความเห็นอย่างไรเมื่อส่งสำนวนการสอบสวนไปให้พนักงานอัยการแล้ว พนักงานอัยการมีอำนาจในการรับสำนวนไปพิจารณาได้แม้ต่อมาจะมีคำสั่งที่แตกต่างจากพนักงานสอบสวนก็ตาม
ต่อไปดูม.142 เป็นกรณีที่รู้ตัวผู้กระทำผิด และผู้นั้นถูกควบคุมหรือขังอยู่หรือปล่อยตัวชั่วคราวหรือเชื่อว่าคงได้ตัวมาเมื่ออกหมายเรียก ให้พนักงานทำความเห็นว่าควรสั่งฟ้องหรือไม่ฟ้องส่งไปยังพนักงานอัยการพร้อมด้วยสำนวน
ในกรณีมีความเห็นควรสั่งไม่ฟ้อง ให้ส่งแต่สำนวนพร้อมความเห็นไปยังพนักงานอัยการในกรณีเสนอคงามเห็นควรสั่งฟ้อง ให้พนักงานสอบสวนส่งสำนวนพร้อมกับผู้ต้องหาไปยังพนักงานอัยการเว้นแต่ผู้ต้องหานั้นถูกขังอยู่
กรณีตามม.142 มีหลักดังนี้
****ต้องรู้ตัวผู้กระทำผิด และผู้นั้น
1)ถูกควบคุมตัว หรือขังอยู่ (ซึ่งโจทย์จะไม่ออกมาง่ายๆว่าผู้ต้องหาถูกขังอยู่)
2)ถูกปล่อยชั่วคราว หรือเชื่อว่าคงได้ตัวมาเมื่อออกหมายเรียก(ถ้าถูกปล่อยชั่วคราวแสดงว่าผู้ต้องหาถูกจับแล้วและมีการปล่อยตัวชั่วคราว)
****ถ้าพนักงานสอบสวนมีความเห็นควรสั่งไม่ฟ้องส่งแต่สำนวน+ความเห็นไป พนักงานอัยการมีอำนาจรับสำสวนไว้พิจารณาต่อได้เลยตามม.142ว.2
****แต่ถ้าพนักงานสอบสวนเห็นควรสั่งฟ้อง ให้พนักงานอัยการส่งสำนวน+ผู้ต้องหาไปยังพนักงานอัยการ
เพราะฉะนั้นถ้าส่งไปแต่สำนวนไม่ส่งผู้ต้องหาพนักงานอัยการรับสำนวนได้ไหม อ่ะๆๆๆๆๆ ใครตอบว่ารับได้ ตายแน่ ต้องตอบว่าไม่มีอำนาจรับสำนวนไว้พิจารณา ฟันธง!!!!!!
ทีนี้เรามาปรับใช้กับโจทย์ที่อาจารย์ให้มา
(ก)พนักงานสอบสวนทำความเห็นว่าการกระทำของนายสมคิดเป็นความผิดตามข้อกล่าวหา จึงทำความเห็นควรสั่งฟ้องเสนอสำนวนสอบสวนไปยังอัยการ
เราต้องมาดูก่อนว่านายสมคิดเนี่ยเค้าจะเข้ากรณีตาม.141หรือม.142
กรณีนายสมคิดพนักงานสอบสวนรู้ตัวผู้กระทำผิดแน่นอนก็พี่แกเล่นไปเข้าหาพนักงานสอบสวนซะขนาดนั้น แต่ว่าก็ถูกปล่อยตัว โดยให้มาพบเมื่อมีหมายเรียก เพราะฉะนั้นกรณีของนายสมคิดเนี่ยถือว่านายสมคิดถูกจับ และถูกปล่อยตัวแล้ว( เพื่อนๆอย่าลืมฎีกา1997/2550ที่วางหลักไว้ว่าจำเลยเข้ามอบตัวและพนักงานสอบสวนได้แจ้งข้อหาให้จำเลยทราบให้ถือว่าจำเลยถูกจับแล้ว) และกรณีนายสมคิดเนี่ยพนักงานสอบสวนก็เชื่อว่าจะได้ตัวมาเมื่อออกหมายเรียก(ถึงแม้เมื่อออกหมายเรียกแล้วนายสมคิดจะขัดขืนหมายเรียกก็ตาม)
กรณีนี้เมื่อเข้าม.142 ถ้าพนักงานสอบสวนมีความเห็นควรสั่งฟ้องต้องส่งสำนวนและ....อ่ะ
จำได้ปล่าวว่าต้องส่งพร้อมอะไร ตัวผู้ต้องหานั่นเอง ตามข้อเท็จจริง(ก) พนักงานสอบสวนมีความเห็นควรสั่งฟ้องแต่ดันส่งแค่สำนวนไปให้พนักงานอัยการ พนักงานอัยการจะรับไว้ได้หรือไม่ หลับตาตอบได้เลยว่า ไม่มีอำนาจรับ
(ข)พนักงานสอบสวนทำความเห็นว่าการกระทำของนายวิชัยไม่เป็นความผิดฐานชิงทรัพย์จึงทำความเห็นควรสั่งไม่ฟ้อง
มาดูกรณีของนายวิชัย เป็นกรณีที่รู้ตัวผู้กระทำผิดแต่นายวิชัยหลบหนีไปจึงเป็นการที่ยังจับตัวผู้ต้องหาไม่ได้จึงเข้าม.141
เมื่อพนักงานสอบสวนมีความเห็นควรสั่งฟ้องหรือไม่ฟ้อง ก็สามารถส่งสำนวนพร้อมความเห็นไปได้เลยไม่ต้องได้ตัวผู้กระทำผิดมาทั้ง2กรณี
เพราะฉะนั้นพนักงานอัยการสามารถรับสำนวนการสอบสวนของนายวิชัยไว้พิจารณามีคำสั่งต่อไปได้
***ข้อสังเกตของม.140,141,142 นั้นแม้ว่าพนักงานอัยการจะยุติการสอบสวนไว้ตามมาตราใดมาตราหนึ่งในสามมาตรานั้นก็ตาม ไม่ใช่คำสั่งเด็ดขาดไม่ฟ้อง เป็นเพียงความเห็นควรสั่งไม่ฟ้องเท่านั้นคือยุติเรื่องไว้ก่อนหากภายหลังจับตัวผู้ต้องหาได้แล้ว ก็สามารถรื้อสำนวนมาสอบสวนกันใหม่ได้ ไม่ได้ต้องห้ามตามม.147 เป็นคนละกรณีกัน
/////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////
ต่อไปอาจารย์ได้พูดถึงม.192 ซึ่งอาจารย์เน้นให้ไปดู
คำถาม
โจทก์ฟ้องจำเลยที่1และจำเลยที่2 ร่วมกันชิงทรัพย์ผู้เสียหาย บรรยายฟ้องว่าจำเลยทั้ง2ขู่เข็ญว่าในทันใดนั้นจะใช้กำลังประทุษร้ายเพื่อให้ยื่นให้ซึ่งทรัพย์ แล้วเอาทรัพย์ของผู้เสียหายไปโดยทุจริต ขอให้ลงโทษตามม.339 จำเลยปฏิเสธอ้างฐานที่อยู่ ทางพิจารณาได้ความว่าจำเลยที่1เพียงคนเดียวขู่เข็ญผู้เสียหาย โดยอ้างว่าเป็นพนักงานตำรวจและขู่เข็ญว่าจะยัดยาบ้าให้เท่านั้น มิได้ขู่เข็ญว่าในทันใดนั้นจะใช้กำลังประทุษร้ายผู้เสียหายอันจะเป็นความผิดฐานชิงทรัพย์ แต่เข้าลักษณะเป็นการข่มขืนใจผู้เสียหาย ให้ยอมให้จำเลยได้รับประโยชน์ในลักษณะที่เป็นทรัพย์สินโดยขู่เข็ญว่าจะทำอันตรายต่อเสรีภาพของผู้เสียหาย อันเป็นความผิดฐานกรรโชกม.337 ส่วนจำเลยที่2มิได้ร่วมกระทำผิดความผิดกับจำเลยที่1ด้วย แต่ได้ทำร้ายร่างกายผู้เสียหายอันได้รับอันตรายแก่กายม.295 ให้วินิจฉัยว่าศาลจะพิพากษาลงโทษจำเลยที่1 จำเลยที่2 ในความผิดฐานใดได้บ้าง
เรื่องนี้เข้าม.192 ซึ่งรายละเอียดเยอะ เราขอพูดแค่เรื่องที่เกียวกับคำถามนี้นะคะเพราะเวลาน้อย
หลักของม.192ว.1คือห้ามพิพากษา หรือสั่ง เกินคำขอหรือที่มิได้กล่าวในฟ้อง
คดีนี้โจทก์ขอให้ลงโทษฐานชิงทรัพย์แต่ทางพิจารณาแล้วกลับไม่ใช่เรื่องชิงทรัพย์สำหรับจำเลยที่กลับเป็นเรื่องกรรโชกทรัพย์ถามว่าศาลจะลงโทษฐานกรรโชกทรัพย์ได้ไหม
มาดูม.192ว.3
ในกรณีที่เป็นความแตกต่างระหว่างการกระทำความผิดฐานลักทรัพย์ กรรโชกทรัพย์ รีดเอาทรัพย์ ฉ้อโกง โกงเจ้าหนี้ ยักยอก รับของโจร และทำให้เสียทรัพย์ มิให้ถือว่าแตกต่างกันในข้อสาระสำคัญ
***แต่ความผิดฐานชิงทรัพย์ไม่มีในวรรคนี้
***แต่ความผิดฐานชิงทรัพย์รวมการขู่เข็ญเอาทรัพย์และการลักทรัพย์ไว้นั้นด้วยแล้ว เมื่อกรรโชกทรัพย์ก็เป็นการขู่เข็ญเพื่อเอทรัพย์เหมือนกันถือว่าไม่แตกต่างในข้อสาระสำคัญม.193 ศาลลงโทษฐานกรรโชกทรัพย์ได้
***ความผิดฐานชิงทรัพย์รวมความผิดฐานทำร้ายร่างกายไว้ด้วย เพราะฉะนั้นเมื่อทางพิจารณาพิจารณาได้ว่าไม่ใช่เป็นการชิงทรัพย์แต่ทีการทำร้ายร่างกายผู้เสียหาย ศาลก็ลงโทษฐานทำร้ายร่างกายได้
***แต่ว่าม.192วรรค3นั้นถึงแม้ว่าลงโทษตามทางที่พิจารณาได้ก็จริงแต่เมื่อโจทก์มิได้บรรยายฟ้องให้ครบองค์ประกอบความผิดที่จะลงโทษนั้น ศาลก็ลงโทษไม่ได้เพราะเป็นการพิพากษาเกินคำขอหรือที่มิได้กล่าวในฟ้องห้ามมิให้ศาลพิพากษาลงโทษ
ตามโจทย์ศาลลงโทษจำเลยที่1ฐานกรรโชกทรัพย์ได้เพราะไม่ถือว่าแตกต่างในข้อสาระสำคัญ
แต่จะลงโทษจำเลยที่2ฐานทำร้ายร่างกายไม่ได้เพราะโจทก์บรรยายฟ้องเพียงว่าจำเลยเพียงแต่ขู่เข็ญว่าจะใช้กำลังประทุษร้ายเท่านั้นไม่ได้บรรยายว่าทำร้ายแล้ว ต้องพิพากษายกฟ้อง
ฎีกา2912/50***ยังไม่เคยออกสอบ/////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////
ขึ้นเรื่องพยานในส่วนวิแพ่ง
คำถามดังนี้

โจทก์ฟ้องว่า โจทก์เข้ารับการผ่าตัดเสริมความงามที่สถานเสริมความงามของจำเลย เกิดอาการผิดปกติ เป็นแผลอักเสบรุนแรงบริเวณอวัยวะที่รับการผ่าตัดจนต้องเข้ารับการรักษาจากร.พ.อื่นอีกหลายครั้งเป็นผลมาจากการกระทำโดยประมาทขาดความระมัดระวังของจำเลย ทำให้โจทก์เสียหายเป็นเงิน500,000บาทขอให้จำเลยชดใช้พร้อมดอกเบี้ย จำเลยให้การว่าได้ทำศัลยกรรมไปตามมาตรฐานวิชาชีพอย่างระมัดระวังดีแล้ว มิได้ประมาทจึงไม่ต้องรับผิด ให้วินิจฉัยว่า
(ก)คดีมีประเด็นข้อพิพาทกี่ประเด็น อะไรบ้าง
(ข)ภาระการพิสูจน์ในแต่ละประเด็น เกิดแก่คู่ความฝ่ายใด
(ค)ศาลควรให้ฝ่ายใดนำพยานหลักฐานเช้าสืบก่อน
มาดู(ก)ข้อนี้ไม่ยาก ประเด็นข้อพิพาทคือจำเลยประมาทหรือไม่และโจทก์ได้รับความเสียหายเท่าใด
เรื่องการกำหนดประเด็นข้อพิพาทนั้นเราดูจากคำฟ้องและคำให้การว่าคู่ความโต้แย้งกันเรื่องใด หากโจทก์ฟ้องและจำเลยไม่ได้ให้การรับหรือปฎิเสธเสมอไม่เช่นนั้นถือว่ารับ ประเด็นนั้น ไม่เกิดเป็นประเด็นข้อพิพาท โจทก์ไม่ต้องนำสืบ ตามโจทย์เมื่อโจทก็อ้างว่าจำเลยประมาทจำเลยปฎิเสธว่าไม่ประมาทจึงเป็นเป็นประเด็นข้อพิพาทขึ้นมาว่าจำเลยประมาทหรือไม่ ส่วนเรื่องค่าเสียศาลจะกำหนดเป็นประเด็นให้โจทก์นำสืบเสมอ จำเลยไม่จำเป็นต้องให้การรับหรือปฎิเสธ
มาดู(ข)เรื่องหน้าที่นำสืบประเด็นข้อพิพาทหลักมาตรา84/1 ผู้ใดกล่าวอ้างผู้นั้นนำสืบ แต่ถ้ามีข้อสันนิษฐานเป็นคุณแก่ฝ่ายใด คู่ความฝ่ายนั้นต้องพิสูจน์เพียงว่าตนได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขแห่งการที่ตนจะได้รับประโยชน์จากข้อสันนิษฐานนั้นครบถ้วนแล้ว
กรณีนี้โจทก์เป็นฝ่ายกล่าวอ้างว่าจำเลยประมาท จริงๆโจทก์ควรเป็นฝ่ายนำสืบประเด็นนี้ แต่ว่าโจทก์กลับได้ประโยชน์จากข้อสันนิษฐานของเหตุการณ์นี้เพราะว่าถ้าจำเลยไม่ประมาท โจทก์คงไม่ต้องเข้ารับการผ่าตัดซ้ำ กรณีนี้จำเลยจึงมีหน้าที่นำสืบในประเด็นจำเลยประมาทหรือไม่
ส่วนประเด็นเรื่องความเสียหาย โจทก์ซึ่งเป็นฝ่ายกล่าวอ้างต้องนำสืบเสมอ
มาดู(ค)หน้าที่นำสืบก่อน-หลังนั้น ดูว่าประเด็นนำสืบของใครสำคัญกว่า แน่นอนตามข้อเท็จจริงเมื่อประเด็นจำเลยประมาทหรือไม่เป็นประเด็นหลักของคดีนี้และจำเลยมีหน้าที่นำสืบในประเด็นนี้ หน้าที่นำสืบก่อนจึงตกอยู่แก่จำเลย
ดูฎีกา 292/2546
/////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////
พยานวิแพ่งข้อต่อไป
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยว่าจ้างโจทก์ให้พิมพ์โฆษณากิจการของจำเลย ในหนังสือพิมพ์ของโจทก์แล้วไม่ชำระค่าจ้าง ขอให้ศาลบังคับจำเลยชำระค่าจ้าง50,000บาทตามสัญญา จำเลยให้การว่าไม่ได้ว่าจ้างให้โจทก์พิมพ์โฆษณาและไม่เคยติดค้างชำระค่าจ้างแก่โจทก์ขอให้ยกฟ้อง ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทไว้เพียงประเด็นเดียวว่า จำเลยค้างชำระค่าจ้างแก่โจทก์หรือไม่ คู่ความมิได้คัดค้านประการใด และได้นำสืบพยานหลักฐานทั้ง2ฝ่ายแล้ว ศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏจากพยานหลักฐาน ที่พยานนำสืบว่า จำเลยยังมิได้ชำระค่างจ้างแก่โจทก์จริงแต่เนื่องจากจำเลย แต่เนื่องจากจำเลยแจ้งยกเลิกคำสั่งเลิกจ้างให้โจทก์พิมพ์โฆษณานี้แล้ว เท่ากับจำเลยมิได้ว่าจ้างให้โจทก์พิมพ์โฆษณานั้นจึงไม่ต้องชำระค่าจ้างแก่โจทก์พิพากษายกฟ้อง ดังนี้คำพิพากษาศาลชั้นต้นชอบด้วยกฎหมายหรือไม่
***เมื่อศาลมิได้กำหนดประเด็นพิพาทว่าจำเลยยกเลิกสัญญาจ้างพิมพ์โฆษณาแล้วหรือไม่ และคู่ความมิได้โต้แย้งคัดค้าน เท่ากับว่าสละประเด็นนี้ไปแล้ว ศาลจึงสืบประเด็นนี้ไม่ได้
***เมื่อศาลไม่ได้กำหนดประเด็นจะพิจารณาพยานหลักฐานในประเด็นนี้เป็นการต้องห้ามตามม.86ว.2(ใช้ตอนสืบพยาน)
***แต่ถ้าศาลตัดสินไปแล้วโดยพิจารณาจากหลักฐานนอกประเด็น เป็นการพิพากษาเกินคำขอต้องห้ามตามม.142วิ.แพ่ง(ใช้ตอนที่ตัดสินแล้ว)
เพราะฉะนั้นคำพิพากษาศาลชั้นต้นจึงเป็นคำพิพากษาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
/////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////
พยาน วิ. อาญา
คำถามพนักงานอัยการโจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานข่มขืนกระทำชำเราผู้เสียหายซึ่งเป็นหญิงอายุ20ปี จำเลยให้การปฏิเสธว่าตนไม่ได้เป็นผู้กระทำผิดในคดีนี้ ชั้นพิจารณาโจทก์นำสืบพยานแสดงถึงประวัติอาชญากรรมของจำเลยว่าเคยกระทำผิดฐานข่มขืนกระทำชำเราหญิงอื่นและถูกศาลพิพากษาลงโทษจำคุกมาแล้วครั้งหนึ่ง พ้นโทษมาไม่นานก็มาถูกดำเนินคดีนี้ ส่วนจำเลยขอสืบพยานหลักฐานถึงพฤติกรรมทางเพศของผู้เสียหายที่เคยมีเพศสัมพันธ์กับผู้ชายมาก่อน3คนก่อนเกิดเหตุคดีนี้เพื่อพิสูจน์ความบริสุทธิ์ของตน ให้วินิจฉัยว่าศาลจะรับฟังพยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบได้หรือไม่และศาลจะไม่อนุญาติใหจำเลยนำสืบพยานหลักฐานดังกล่าวได้หรือไม่
เรื่องนี้เป็นกฎหมายใหม่ซึ่งตรงหลักมาตรา226/2,226/4 เป๊ะๆ ไม่ยากคะดูในตัวบทได้เลย
////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////

พยานวิอาญาข้อต่อไป
นายดำถูกจับกุมในข้อหาฆ่าผู้อื่นโดยเจตนา พนักงานสอบสวนแจ้งให้นายดำทราบถึงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการกระทำที่ถูกกล่าวหาและแจ้งข้อหารวมทั้งสิทธิต่างโดยชอบแล้ว นายดำปฎิเสธพนักงานสอบสวนจึงบอกแก่นายดำว่าหากให้การรับสารภาพจะให้ประกันตัวนายดำจึงรับสารภาพและแจ้งว่าได้นำไปซุกซ่อนไว้ที่บ้านของนายแดง พนักงานสอบสวนจึงขอให้ศาลออกหมายค้นบ้านนายแดง แล้วนำไปค้นพบอาวุธปืนที่ใช้ยิงผู้ตายจึงยึดมาเป็นของกลาง
ให้วินิจฉัยว่าศาลจะรับฟังคำให้การรับสารภาพของนายดำในชั้นสอบสวนและอาวุธที่ใช้ในการกระทำความผิดได้หรือไม่เพียงใด
ดูเรียงมาจากม.84วรรคท้ายเลย***คำรับสารภาพรับฟังไม่ได้เลย***
เพราะฉะนั้นคำรับสารภาพของนายดำในชั้นสอบสวนตัดไปเลยต้องห้ามรับฟังเด็ดขาด
ส่วนปืนที่ค้นได้มาเนื่องจากข้อมูลของคำให้การที่ไม่ชอบ ที่บอกว่าไม่ชอบเพราะว่าม.135กำหนดว่าการถามปากคำผู้ต้องห้ามมิให้พนักงานสอบสวนให้คำมั่นหรือขู่เข็ญ
เมื่อการที่พนักงานสอบสวนบอกว่าถ้าไม่รับสารภาพจะไม่ได้ประกันตัวเป็นการขู่เข็ญผู้ต้องหาและผลของคำให้การอันเกิดจากการขู่เข็ญนี้อยู่ที่ม.226ไม่ถือเป็นพยานหลักฐานที่รับฟังได้ แต่ปืนนั้นมันมีอยู่แล้วโดยชอบเพียงแต่ว่าการที่ไปค้นเจอนั้นเป็นการอาศัยขากข้อมูลที่ได้มาโดยมิชอบ(ได้มาจากการขู่เข็ญ)ถึงแม้หลักม.226/1จะห้ามมิให้รับฟังแต่ก็อาจจะเข้าข้อยกเว้นให้รับฟังได้ ถ้าการรับฟังพยานหลักฐานนั้นเป็นประโยชน์ต่อการอำนวยความยุติธรรมฯ เพราะฉะนั้นปืนที่เป็นของกลางนี้รับฟังเป็นพยานหลักฐานได้ตามม.226/1
///////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////
อาจารย์ได้ย้ำถึงมาตรา 134/4 วรรคท้ายว่ายังไม่มีความเห็นที่ยุติว่าเป็นการตัดเด็ดขาดหรือเข้าข้อยกเว้นม.226/1ได้หรือไม่ เพราะฉะนั้นเวลาเราตอบข้อสอบเราตอบแต่เพียงว่าเป็นพยานหลักฐานที่ชอบหรือไม่ ไม่ต้องไปตอบว่ารับฟังได้หรือไม่ให้อาจารย์ไปตีความกันเอาเองตอนทำธงคำตอบ



เรื่องพยานอาจารย์เน้นๆดังนี้
ในส่วนวิแพ่ง
อาจารย์ให้ดูการกำหนดประเด็นข้อพิพาทและเรื่องคำท้าไว้ด้วย คำท้าที่เป็นหมันมีผลอย่างไร ทายาทของคู่ความต้องผูกพันไหม
ในส่วนวิอาญานั้น
ดูกฎหมายใหม่ออกชัวล์ๆแต่ไม่รู้ว่าออกมาตราไหนจึงอยากให้ดูม.84/1 ม.226/,ม.226/2,ม.226/4 ไว้ให้ดี



หวังว่าคงอ่านกันแล้วพอจะเข้าใจนะคะ
พยายามสุดความสามารถแล้วได้แค่นี้-*-
พอดีรีบด้วย กลัวเพื่อนๆจะได้อ่านช้า
ถึงแม้ข้อสอบจะไม่ได้ออกตรงๆที่อาจารย์ติว
แต่คิดว่าต้องมีบางเรื่องบางประเด็นที่อยู่ในสรุปนี้
ซ่อนอยู่ในข้อสอบอย่างแน่นอน
โชคดีในการสอบทุกท่านนะคะ รวมทั้งเราด้วย^_^








สรุปย่อตัวบทอาญา

เสรีภาพ

ข่มขืนใจ ( ชีวิต / ร่างกาย / เสรีภาพ / ทรัพย์สิน ) = ตนเอง / ผู้อื่น กระทำการ / ไม่กระทำการ / จำยอม
ใช้กำลังประทุษร้าย
ว.2 = อาวุธ / 5 คนขึ้น / ทำ, ถอน, ทำลาย / เสียหาย / ทำลาย = เอกสารสิทธิ
ว.3 = อั้งยี่ / ซ่องโจร ( มีหรือไม่ )

หน่วงเหนี่ยว / กักขัง ( ปราศจากเสรีภาพในร่างกาย )
ว.2 = ตาย / สาหัส ( ม.290 / 297 / 298 )

หน่วงเหนี่ยว / กักขัง = ปราศจากเสรีภาพ + เพื่อให้ผู้อื่นกระทำการใด

ประมาท หน่วงเหนี่ยว / กักขัง ( ปราศจากเสรีภาพ )
ว.2 = ตาย / สาหัส ( ม. 291 / 300 ) 1. เด็กไม่เกิน 15 ( เพิ่มโทษ )
2.บาดเจ็บ / สาหัส / ตาย
เอาคนลงทาส / นำเข้า-ส่งออกนอกราช / ซื้อ ขาย จำหน่าย รับ หน่วงเหนี่ยว บุคคลใด

ทุจริตรับไว้ / จำหน่าย / ธุระจัดหา / ล่อพาไป = เกิน 15 แต่ไม่เกิน 18 พราก
ว.2 = ไม่เกิน 15
ปราศจากเหตุสมควร ไม่เกิน 15 ไปจากพ่อแม่ / ผู้ปกครอง
***ค่าไถ่*** พราก กว่า 15 ไม่เกิน 18 ( ไม่เต็มใจไปด้วย )

ให้ได้ค่าไถ่ 1. ไม่เกิน 15
2. กว่า 15 ( อุบาย / ขู่เข๊ญ / กำลัง / อำนาจ / ข่มขืนใจ ) ว.2 = ทุจริต / ซื้อ / จำหน่าย
3. หน่วงเหนี่ยว / กักขัง ว.3 = กำไร / อนาจาร
ว.2 = สาหัส / ทรมาน / ทารุณ
ว.3 = ตาย พราก = กว่า 15 ไม่เกิน 18 ( กำไร / อนาจาร )
( เต็มใจไปด้วย )
*** สนับสนุน = ตัวการ ***
อุบาย / ขู่ / กำลัง / อำนาจ = พา / ส่งคนออกนอกราช
คนกลางเรียก / รับ จาก 1. ผู้เรียกค่าไถ่ ( ม.313 ) ว.2 = พาไปเพื่อให้ตกอยู่ในอำนาจของผู้อื่น
2. ผู้ให้ค่าไถ่

ผู้ทำผิด ให้เสรีภาพก่อนศาลชั้นต้นพิพาษา + ไม่สาหัส ( ใกล้อันตรายชีวิต ) = น้อยกว่าที่กฎหมายกำหนด แต่ ไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่ง


*****ม. 309 / 310 / 311 วรรคแรก = ยอมความได้*****











หมิ่นประมาท

ใส่ความ ผู้อื่น ต่อบุคคลที่ 3 ผู้อื่น = เสียชื่อเสียง / ถูกดูหมิ่น / ถูกเกลียดชัง หมิ่นประมาท
ใส่ความ ผู้ตาย ต่อบุคคลที่ 3 บิดา / มารดา / คู่สมรส / บุตร ผู้ตาย = เสียชื่อเสียง / ถูกดูหมิ่น / ถูกเกลียดชัง


หมิ่นประมาทโดย โฆษณา = เอกสาร / ภาพวาด / ภาพระบายสี / ภาพยนตร์ / ตัวอักษร / สิ่งบันทึกเสียง / บันทึกภาพ
กระจายเสียง / กระจายภาพ / ป่าวประกาศ

แสดงความเห็น / ข้อความโดยสุจริต 1. ป้องกันตน / ส่วนได้เสีย ( ชอบธรรม + คลองธรรม )
2. เจ้าพนักงานปฏิบัติการตามหน้าที่ ไม่มีความผิด
3. ติชมความเป็นธรรม ( วิสัยประชาชนย่อมกระทำ )
4. แจ้งข่าวความเป็นธรรมเรื่องในศาล / การประชุม

กรณีผู้ทำผิดหมิ่นประมาท พิสูจน์ว่าจริง = ไม่ต้องรับโทษ เว้นแต่ ส่วนตัว + ไม่เป็นประโยชน์กับประชาชน

คู่ความ / ทนายความ แสดงความคิดเห็น / ข้อความ ในการพิจารณาคดีในศาล ( *** เพื่อประโยชน์คดีของตน *** )

คดีหมิ่นประมาท ศาลอาจสั่ง 1. ยึด / ทำลาย = วัตถุ / ส่วนวัตถุ ที่หมิ่นประมาท
2. โฆษณาคำพิพากษาในหนังสือพิมพ์ ฉบับเดียว / หลายฉบับ ( จำเลยชำระ )

******************* หมวดนี้ยอมความได้ ***********************

ผสห. ตายก่อนร้องทุกข์ พ่อ / แม่ / คู่สมรส / บุตร ของผู้เสียหายร้องทุกข็ได้ + ถือเป็นผู้เสียหาย












ลัก / วิ่งราว

เอาทรัพย์ ผู้อื่น / ผู้อื่นเป็นเจ้าของรวม ( ทุจริต )
ลักทรัพย์ 1. กลางคืน
2. เพลิงไหม้ / ระเบิด / อุทกภัย / อุบัติเหตุ รถไฟ / ยานพาหนะ = โอกาสที่ประชาชนตื่นกลัว
3. สิ่งกีดกั้น / ผ่านสิ่งเช่นว่านั้น
4. เข้าทางช่องทางโดยไม่ให้คนเข้า
5. แปลงตัว / ปลอมตัว = ผู้อื่น / มอมหน้า (ไม่ให้เห็น / จำหน้าได้)
6. ลวงเป็น จพง.
7. อาวุธ / 2 คนขึ้นไป
8. ในเคหสถาน / สถานที่ราชการ / สถานที่ที่เข้าไปไม่ได้รับโดยไม่ได้รับอนุญาต / ซ่อนตัวอยู่
9. บูชา / รถไฟ / ท่าอากาศยาน / ที่จอดรถ / เรือ / สาธารณสถานสำหรับขนถ่ายสินค้า / ยวดยานสาธารณะ
10. ที่ใช้ / มีไว้ เพื่อสาธารณะประโยชน์
11. ของนายจ้าง / ความครอบครองนายจ้าง
12. กสิกรรม / สัตว์กสิกรรม

ว.2 = 2 อนุมาตราขึ้นไป
ว.3 = โค / กระบือ / เครื่องกล / เครื่องจักร (อาชีพกสิกรรม)
ว.4 = ทำเพราะยากจน + ทรัพย์ราคาน้อย = ลงโทษใน ม. 334 ได้

*** พระพุทธรูป / ที่สักการบูชา / สมบัติของชาติ (หรือส่วนหนึ่งส่วนใด) ***
*** ว.2 สำนักสงฆ์ / โบราณสถาน / ทรัพย์สินของแผ่นดิน ***


ลักทรัพย์โดย ฉกฉวยเอาซึ่งหน้า วิ่งราวทรัพย์
ว.2 = อันตรายกาย / ใจ
ว.3 = สาหัส
ว.4 = ตาย


ถ้าทำทั้งหมดที่ผ่านมาโดย แต่งเครื่องแบบทหาร / ตำรวจ ( เข้าใจว่า )
มี / ใช้ = ปืน / ระเบิด ระวางโทษหนักกว่ามาตรานั้น กึ่งหนึ่ง
ยานพาหนะ = สะดวกแก่การพาไป / พ้นจับกุม


กรรโชก / รีด / ชิง /ปล้น

ข่มขืนใจผู้อื่น ให้ / ยอมให้ ปย. ลักษณะที่เป็นทรัพย์สิน ใช้กำลัง / ขู่ว่าจะทำอันตราย ชีวิต / ร่างกาย / เสรีภาพ / ทรัพย์สิน
( กรรโชก )


ผู้ถูกขู่เข็ญ บุคคลที่ 3


จนยอม
กรรโชกโดย ขู่ฆ่า / ขู่ทำร้ายร่างกาย / เพลิงไหม้ / มีอาวุธมาขู่

ขู่เปิดเผยความลับ ( เปิดเผยแล้ว = ผู้ถูกขู่เข็ญ / บุคคลที่ 3 เสียหาย ) *** ยอมทำตาม ***
( รีดเอาทรัพย์ )

ลักทรัพย์ โดยใช้กำลัง / ขู่จะใช้ เพื่อ สะดวกแก่การลัก / พา ทรัพย์ไป
( ชิงทรัพย์ ) ยื่นให้
ยึดถือ
ปกปิดการทำผิด
พ้นการจับกุม

ว.2 = อนุมาตราใน ม. 335 / โค / กระบือ / เครื่องกล / เครื่องจักร ( กสิกรรม )
ว.3 = อันตรายกาย / ใจ
ว.4 = สาหัส
ว.5 = ตาย

ชิงทรัพย์ม.335 ทวิ วรรคแรก ( ต่อทรัพย์ ) ปล้นทรัพย์ ม. 335 ทวิ วรรคแรก ( ต่อทรัพย์ )
ชิงทรัพย์ม.335 ทวิ วรรคสอง ( ต่อสถานที่ ) ปล้นทรัพย์ ม. 335 ทวิ วรรคสอง ( ต่อสถานที่ )
ว.3 = คนใดมีอาวุธติดตัว
ว.3 = อันตรายกาย / ใจ ว.4 = สาหัส
ว.4 = สาหัส ว.5 = ทารุณ / ทรมาน / ปืนยิง / ระเบิด
ว.5 = ตาย ว.6 = ตาย
( ผู้อื่น )


ชิงทรัพย์ 3 คนขึ้นไป ( ปล้นทรัพย์ ) ชิง – ปล้น (ที่ผ่านมา) = แต่งกายเครื่องแบบ / เข้าใจว่า = ทหาร / ตำรวจ
ว.2 = คนใดมีอาวุธติดตัวไปด้วย มี , ใช้อาวุธปืน / ระเบิด
ว.3 = สาหัส ยานพาหนะ = เพื่อทำผิด / พาทรัพย์ไป / พ้นการจับกุม
ว.4 = ทารุณ / ทรมาน / ปืนยิง / ระเบิด
ว.5 = ตาย
ฉ้อโกง
ผู้ถูกหลอกลวง
โดยทุจริต หลอกลวงผู้อื่น ( แสดงข้อความอันเป็นเท็จ ) ได้ไปซึ่งทรัพย์สินจาก
( ฉ้อโกง ) ปกปิดความจริง ( ควรบอก ) ทำ / ถอน / ทำลาย
( เอกสารสิทธิ ) บุคคลที่ 3

ฉ้อโกง 1. แสดงตนเป็นคนอื่น
2. อาศัยความเบาปัญญา / ความอ่อนแอ = เด็ก / ผู้ถูกหลอกลวง

ฉ้อโกง แสดงข้อความเท็จ / ปกปิดความจริง = ประชาชน
ว.2 = ทำในอนุข้างบนด้วย

โดยทุจริต หลอกลวง 10 คน UP ให้ทำงาน = โดยไม่ใช้ค่าแรงค่าจ้าง / ใช้ต่ำกว่าที่ตกลง

สั่งซื้อ + บริโภค ในโรงแรม รู้ว่าตนไม่มีเงินจ่าย

เพื่อเอาทรัพย์เป็นของตน / คนที่ 3 = ชักจูงให้ขายโดยเสียเปรียบ ( จิตอ่อนแอ / เบาปัญญา / ไม่สามารถเข้าใจการกระทำของตน = จำหน่ายทรัพย์
( หลอกให้ขาย )

เพื่อให้ตน / คนอื่น ได้รับประโยชน์จากการประกันวินาศภัย ( แกล้งให้เสียหายกับทรัพย์ที่เอาประกัน )

********** ยอมความได้ นอกจาก ฉ้อโกงประชาชน ยอมไม่ได้ *************

โกงเจ้าหนี้

เอาไปเสีย / ทำให้เสียหาย / ทำลาย / ทำให้เสื่อมค่า / ไร้ปย. ทรัพย์ที่จำนำไว้ ( เพื่อให้เสียหายแก่ผู้รับจำนำ )

มิให้เจ้าหนี้ ตน / ผู้อื่น = รับชำระหนี้ทั้งหมด / บางส่วน ( ได้ใช้สิทธิเรียกร้องทางศาล ) ย้าย / ซ่อน / โอนไปแก่ผู้อื่น / แกล้งเป็นหนี้

**** หมวดนี้ยอมความได้ ***


รับของโจร

ช่วยซ่อนเร้น / ช่วยจำหน่าย / ช่วยพาเอาไป / ซื้อ / รับจำนำ / รับไว้ ทรัพย์อันได้มาโดยการทำผิด
( ลัก / วิ่ง / ชิง / ปล้น / กรร / ฉ้อ / ยัก / รีด / จพง.ยักยอกทรัพย์ )

ว.2 = รับของโจรทำเพื่อ การค้า / กำไร / ทรัพย์ตามมาตรา 335 (10) / ชิง / ปล้น

ว.3 = รับของโจร ลักทรัพย์มาตรา 335 ทวิ / ชิงทรัพย์มาตรา 339 ทวิ / ปล้นทรัพย์มาตรา 340 ทวิ
ยักยอก

ครอบครองทรัพย์ = ผู้อื่น / ผู้อื่นเป็นเจ้าของรวม เบียดบังเอาเป็นของ ตน / บุคคลที่ 3 ( โดยทุจริต )
มาอยู่ในความครอบครองของผู้ทำผิด ผู้อื่นส่งมอบโดยสำคัญผิด / เก็บได้ ( ทรัพย์สินหาย ) = โดนกึ่งหนึ่ง

ได้รับมอบหมายจัดการทรัพย์ผู้อื่น / เจ้าของรวม กระทำผิดหน้าที่ ( โดยทุจริต ) ทรัพย์เสียหาย

2 ความผิดข้างบน ผู้ทำผิดเป็น ผู้จัดการทรัพย์สินตามคำสั่งศาล / ตามพินัยกรรม / ผู้มีอาชีพธุรกิจ ( ไว้วางใจของประชาชน )

เก็บสังหาริมทรัพย์อันมีค่า ( ซ่อน / ฝัง ) ไม่มีผู้ใดอ้างเป็นเจ้าของ เบียดบัง ( ตน / ผู้อื่น )

**** หมวดนี้ยอมความได้ ***

เสียทรัพย์

ทำให้เสียหาย / ทำลาย / เสื่อมค่า / ไร้ประโยชน์ ทรัพย์ ( ผู้อื่น / เจ้าของรวม )

ทำให้เสียทรัพย์ดังนี้ 1. เครื่องกล / เครื่องจักร ( ประกอบกสิกรรม )
2. ปศุสัตว์
3. ยานพาหนะที่ใช้ขนส่งสาธารณะ / ประกอบกสิกรรม / อุตสาหกรรม
4. พืชผลเกษตรกร

ทำให้เสียหาย / ทำลาย / เสื่อมค่า / ไร้ประโยชน์ ทรัพย์ที่ใช้ / มีไว้ เพื่อสาธารณประโยชน์
ทำให้เสียหาย / ทำลาย / เสื่อมค่า / ไร้ประโยชน์ ทรัพย์มาตรา 335 ทวิ ว. 1 / 2

**** 2 ความผิดแรกยอมความได้ *****

บุกรุก

เข้าไปในอสัง ( ถือการครอบครอง ) ผู้อื่น รบกวนการครอบครองโดยปกติสุข
เพื่อเอาอสังหาเป็นของ ตน / คนที่ 3 ยักย้าย / ทำลาย เครื่องหมายเขต
ไม่มีเหตุสมควร เข้าไป / ซ่อนตัว / ไม่ยอมออก (เมื่อผู้มีสิทธิไล่) = ในเคหสถาน / อาคารเก็บทรัพย์ สำนักงาน(ความครอบครองผู้อื่น)

บุกรุก โดย 1. ใช้กำลัง / ขู่จะใช้
2. มีอาวุธ / ร่วมกัน 2 คนขึ้นไป
3. กลางคืน

**** 3 ความผิดข้างบนยอมความได้ เว้นเหตุฉกกรรจ์ ****
ลหุโทษ
ทราบคำสั่งจพง. ( สั่งตามกฎหมาย ) แล้วไม่ทำตาม ไม่มีเหตุผลอันควร
ว.2 = คำสั่งช่วยทำกิจการในหน้าที่ของ จพง.

ส่งเสียง / เกิดเสียง อื้ออึง ประชาชนเดือดร้อน / ตกใจ

พาอาวุธไปในเมือง /ทางสาธารณะ ( ไม่มีเหตุอันควร ) / ชุมชนจัดเพื่อมนัสการ / การรื่นเริง

ทะเลาะอื้ออึง / ทำให้เสียความสงบ ( สาธารณะ / สาธารณสถาน )

เห็นผู้อื่นภยันตรายถึงชีวิต ช่วยได้โดยไม่กลัว แต่ ไม่ช่วย

ยิงปืนในเมือง / ชุมชน ( โดยใช่เหตุ )

กระทำการขายหน้า เปลือย / โชว์ ร่างกาย ( ธารกำนัล )

ประมาท อันตรายแก่กาย / ใจ

ใช้กำลังทำร้าย ไม่ถึงกับเป็นเหตุอันตรายแก่กาย / ใจ

ก่อให้คนอื่น กลัว / ตกใจ โดยการขู่เข็ญ

ดูหมิ่นผู้อื่นซึ่งหน้า / โฆษณา

ทารุณเด็กไม่เกิน 15 / คนป่วย / คนชรา ( พึ่งพาผู้นั้นในการดำรงชีพ )















ความรับผิดในทางอาญา

หลัก
ต้องรับผิดต่อเมื่อ เจตนา
เว้น
ประมาท ( กรณีกม. บัญญัติให้รับผิดแม้ทำโดยประมาท ) / กม. บัญญัติชัดแจ้งให้รับผิดแม้ไม่เจตนา
ว.2 = การทำโดยเจตนา รู้สำนึก + ประสงค์ต่อผล / เล็งเห็นผล
ว.3 = ไม่รู้ข้อทจ. ( อปก ) จะถือว่าประสงค์ / เล็ง = ไม่ได้
ว.4 = ประมาท มิใช่เจตนา + ปราศจากความระมัดระวัง ( วิสัย + พฤติการณ์ ) + ใช้ได้แต่หาใช้เพียงพอไม่
การกระทำ รวม งดเว้นเพื่อป้องกันผลด้วย

เจตนาต่อคนหนึ่ง อีกคนหนึ่ง ( ถือว่าเจตนาด้วย ) แต่ ห้ามนำกฎหมายมาลงโทษให้หนักขึ้นเพราะฐานะ / ความสัมพันธ์ (คนทำ / ผู้โดน)
( พลาด )

เจตนาต่อคนหนึ่ง อีกคนนึง เอามาเป็นข้อแก้ตัวว่าไม่เจตนาไม่ได้
( สำคัญผิด )


ถ้าข้อทจ. มีจริง ไม่เป็นความผิด / ไม่ต้องรับโทษ / รับโทษน้อยลง ผู้ทำสำคัญผิดว่ามีอยู่จริง ผู้ทำ = ไม่มีความผิด / ยกเว้นโทษ / รับน้อยลง

ว.2 = ถ้าไม่รู้ข้อทจ. มาตรา 59 วรรค 3 / สำคัญผิด ม.62 ( ข้างบน ) รับผิดฐานประมาท ( กม.บัญญัติรับโทษแม้ประมาท )
( ประมาท )

ว.3 =จะรับโทษหนักขึ้นโดยข้อทจ. ใด ต้องรู้ข้อเท็จจริงนั้น

ผลการกระทำทำให้รับโทษหนักขึ้น ผลตามธรรมดาที่เกิดขึ้นได้

แก้ตัวว่าไม่รู้กม.ไม่ได้ แต่ ศาลเห็นว่าอาจไม่รู้ = แสดงพยาน + ศาลเชื่อลงน้อยกว่าที่กม. กำหนดได้ ( เพียงใดก็ได้ )

ทำผิดขณะที่ ไม่สามารถรู้ผิดชอบ / ไม่สามารถบังคับตนเอง ( จิตบกพร่อง / โรคจิต / จิตฟั่นเฟือน ) = ไม่ต้องรับผิด
สามารถรู้ผิดชอบอยู่บ้าง / บังคับตนเองได้บ้าง = รับโทษ ( ลงโทษน้อยกว่าที่กฎหมายหำหนด )

หลัก
เมา = ยกแก้ตัวไม่ได้ ( ม.65 )
เว้น
ไม่รู้ว่าทำให้เมา / ถูกขืนใจให้เสพ + กระทำขณะไม่สามารถรู้ผิดชอบ / ไม่สามารถบังคับตนเอง = ยกเว้นโทษ
แต่ถ้า สามารถรู้ผิดชอบอยู่บ้าง / บังคับตนเองได้บ้าง = รับโทษ ( ลงโทษน้อยกว่าที่กฎหมายหำหนด )

ทำตามคำสั่ง จพง. ( คำสั่งมิชอบ ) หลัก ไม่ต้องรับโทษ ( เชื่อโดยสุจริต )
เว้น รู้ว่าคำสั่งไม่ชอบ



จำเป็น / ป้องปัน / บันดาลโทสะ


กระทำด้วยความจำเป็น 1. ที่บังคับ / อำนาจที่หลีกเลี่ยงไม่ได้
2. เพื่อให้ตนเอง / ผู้อื่น = พ้นภยันตราย ใกล้จะถึง + ไม่สามารถหลีกได้ + ตนมิได้ก่อขึ้น
***ไม่เกินสมควร = ไม่ต้องรับโทษ ***

ทำเพื่อป้องกันสิทธิ ตน / ผู้อื่น จากภยันตราย ประทุษร้ายอันละเมิดกฎหมาย + ใกล้จะถึง
*** พอสมควรแก่เหตุ = ไม่มีความผิด ***

กรณีจำเป็น / ป้องกัน = เกินสมควรแก่เหตุ / เกินกรณีแห่งความจำเป็น / เกินป้องกัน หลัก ลงโทษน้อยกว่าที่กม.กำหนดเพียงใดก็ได้
เว้น ตื่นเต้น / ตกใจ / กลัว = ไม่ลงโทษก็ได้

บันดาลโทสะ ทำไปขณะนั้น ( ข่มเหงร้ายแรงโดยไม่เป็นธรรม ) ลงโทษน้อยกว่าที่กม.กำหนดเพียงใดก็ได้


ความผิด ม.334 – 336 วรรคแรก / 341 – 364 สามีทำต่อภรรยา / ภรรยาทำต่อสามี = ไม่ต้องรับโทษ
บุพการีทำต่อผู้สืบสันดาน / ผู้สืบสันดานทำต่อบุพการี / พี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน
( กม. บอกยอมความไม่ได้ = ก็ยอมความได้ + ลงโทษน้อยกว่าที่กม.กำหนดเพียงใดก็ได้ )


ไม่เกิน 7 ปีทำผิด ไม่ต้องรับโทษ
เกิน 7 ไม่เกิน 14 ไม่ต้องรับโทษ แต่ 1. ว่ากล่าว + ปล่อยตัวไป ( เรียกพ่อแม่มาตักเตือนด้วยได้ )
2. มอบตัวให้พ่อแม่ + วางข้อกำหนดให้คุมดีๆ ( ไม่เกิน 3 ปี )+กำหนดเงินกรณีเด็กก่อเหตุ(1000)
( เด็กอยู่กับคนอื่น ก็เรียกที่อยู่ด้วยมา ถามว่ายอมรับข้อกำหนดไหม ยอม = มอบตัวเด็กไป )
3. - 5. ( ดูเอง )

กว่า 14 ไม่เกิน 17 ทำผิด ศาลพิจารณาความรู้ผิดชอบ + สิ่งอื่นๆ ไม่สมควร = ก็มาตราข้างบน
สมควร = ก็ลดมาตราส่วนโทษให้กึ่งหนึ่ง

กว่า 17 ไม่เกิน 20 สมควรลงโทษ = ลดลง 1 ใน 3 / กึ่งหนึ่ง

มีเหตุบรรเทาโทษ ( เพิ่ม / ลด ) = ลดไม่เกินกึ่งหนึ่งของโทษ
เหตุบรรเทาโทษ = โฉดเขลาเบาปัญญา / ความทุกข์สาหัส / มีคุณความดีมาก่อน / พยายามบรรเทาผลร้าย / ลุแก่โทษ / ให้ความรู้แก่ศาล
( ประโยชน์ในการพิจารณา )

คดีโทษปรับอย่างเดียว = ผู้ต้องหานำมาจ่ายในอัตราอย่างสูงก่อนเริ่มต้นสืบพยาน = คดีระงับไป



การพยายามกระทำความผิด

ลงมือทำแต่ทำไปไม่ตลอด / ทำตลอดแต่ไม่บรรลุผล พยายามทำความผิด ( 2 ใน 3 ส่วน ของโทษที่กฎหมายกำหนดสำหรับความผิด )

ทำมุ่งเป็นความผิด ไม่สามรถบรรลุผลแน่แท้ = ปัจจัย / วัตถุ ( พยายาม ลงโทษไม่เกินกึ่งหนึ่ง )
เชื่องมงาย = ศาลไม่ลงโทษก็ได้

พยายามทำผิด กลับใจแก้ไข / ยับยั้ง = ไม่ต้องรับโทษ ( แต่ที่ทำไปแล้วก็ต้องรับผิด )

ตัวการและผู้สนับสนุน

ทำผิด 2 คนขึ้นไป ตัวการ ( ระวางโทษตามที่กฎหมายกำหนด )

ก่อให้ผู้อื่นทำผิด = ใช้ / บังคับ / ขู่ / จ้าง / ยุยงส่งเสริม ผู้ใช้
ผู้ถูกใช้ได้กระทำความผิด ผู้ใช้ เสมือน ตัวการ ( รับผิด )
ผู้ถูกใช้ยังไม่ได้ทำความผิด ( ไม่ยอมทำ / ยังไม่ได้ทำ / เหตุอื่น ) ผู้ใช้ 1 ใน 3 ของโทษ

โฆษณา / ประกาศ แก่คนทั่วไปให้กระทำผิด + โทษไม่ต่ำกว่า 6 เดือน กึ่งหนึ่ง
ถ้ามีการทำความผิดตามวรรคแรก ตัวการ

ช่วยเหลือ / ให้ความสะดวก ก่อน / ขณะ ทำผิด ( แม้ไม่รู้ถึงการช่วยเหลือ ) ผู้สนับสนุน ( 2 ใน 3 )

มีการทำผิดเพราะมี ผู้ใช้ / ผู้โฆษณา ผู้สนับสนุน = ถ้าความผิดที่เกิดเกินขอบเขต / เกินเจตนา


ผู้สนับสนุน / ผู้ใช้ / ผู้โฆษณา = รับผิดเท่าที่มีในขอบเขต แต่ พฤติการณ์เล็งเห็นอาจเกิดได้ รับผิดตามที่เกิด

ผู้ถูกใช้ / ผู้ทำตามคำโฆษณา / ตัวการ = รับผิดสูงขึ้นเพราะอาศัยผลที่กระทำความผิด ผู้ใช้ / ผู้โฆษณา / ผู้สนับสนุน = รับผิด

แต่ ถ้าลักษณะความผิด ( สูงนั้น ) จะรับผิดสูงเมื่อผู้กระทำรู้ / อาจเล็งเห็นว่าจะเกิดผล

ผู้ใช้ / ผู้โฆษณา / ผู้สนับสนุน = รับผิดสูงขึ้นเมื่อตนได้รู้ / อางเล็งเห็นได้ว่าจะเกิดผล


ความผิดที่ใช้ / สนับสนุน / โฆษณา ทำถึงขั้นลงมือ ผู้ใช้ / โฆษณา / สนับสนุน = เข้าขัดขวาง ( ทำไม่ตลอด / ไม่บรรลุผล )

รับผิดในมาตรา 84 ว.2 / มาตรา 85 ว. แรก / ผู้สนับสนุนไม่ต้องรับโทษ
ยกเว้นโทษ / ลดโทษ / เพิ่มโทษ มีเหตุส่วนตัว = ใช้กับคนอื่นด้วยไม่ได้
มีเหตุลักษณะคดี = เอาไปใช้กับผู้ทำผิดได้ทุกคน

หลายบท / หลายกระทง


กระทำกรรมเดียว + ผิดกฎหมายหลายบท บทที่หนักที่สุดมาลงโทษ

กระทำหลายกรรมต่างกัน ศาลลงโทษทุกกรรมเป็นกระทง = เพิ่ม / ลด / ลดมาตราส่วนต้องไม่เกินดังนี้



1. 10 ปี ความผิดกระทงหนักที่สุดมีอัตราไม่เกิน 3 ปี
2. 20 ปี ความผิดกระทงที่หนักที่สุดมีอัตราโทษเกิน 3 ปี ไม่เกิน 10 ปี
3. 50 ปี ความผิดกระทงหนักที่สุดเกิน 10 ปีขึ้นไป
เว้น ศาลลงโทษจำคุกตลอดชีวิต


การกระทำความผิดอีก

ต้องคำพิพากษาให้จำคุก + กระทำความผิดในระหว่างที่รับโทษอยู่ / ภายใน 5 ปีนับแต่พ้นโทษ = ศาลจะพิพากษาครั้งหลังถึงจำคุก
( เพิ่มโทษ 1 ใน 3 ของโทษครั้งหลัง )

**** ม. 93 / ม.94 + เรื่องอายุความ + บทบัญญติที่ใช้แก่ความผิดลหุโทษ = ผ่านไปก่อน *****

ก่อการร้าย
กระทำความผิดอาญา ดังนี้
1. ใช้กำลัง + กระทำอันตรายต่อชีวิต / ร่างกาย / เสรีภาพ ( บุคคลใดๆ )
2. กระทำให้เกิดความเสียหายร้ายแรง = ขนส่งสาธารณะ / โทรคมนาคม / โครงสร้างพื้นฐานปย.สาธารณะ
3. กระทำการเกิดความเสียหายแก่ทรัพย์สินของรัฐหนึ่งรัฐใด / บุคคลใด / สิ่งแวดล้อม ( น่าจะเสียหายทางเศรษฐกิจ )


หลัก
มีความมุ่งหมายเพื่อขู่เข็ญ / บังคับ = รัฐบาลไทย, รัฐบาลต่างปรเทศ , องค์การระหว่างประเทศ ก่อการร้าย
ให้กระทำ / ไม่กระทำ = เกิดความเสียหายร้ายแรง / ปั่นป่วน + กลัว
เว้น
เดินขบวน / ชุมนุม / ประท้วง ( ให้ได้รับความเป็นธรรม + เสรีภาพตามรธน. ) = ไม่ผิดฐานก่อการร้าย

ผู้ใด 1. ขู่ว่าจะก่อการร้าย + มีพฤติการณ์ว่าจะทำจริง
2. สะสมกำลังพล / อาวุธ / ฝึกการก่อการร้าย ( รวบรวมทรัพย์สิน ) / สมคบ / ยุยงให้มามีส่วนก่อ / ปกปิดการก่อการร้าย

*** ผู้สนับสนุนความผิดหมวดนี้ = ตัวการ ***
เป็นสมาชิกของ = คณะมนตรีบุคคล ( คณะความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ ) ก่อการร้าย + รัฐบาลไทยได้ประกาศให้ความรับรองมติ / ประกาศด้วย

ความผิดต่อเจ้าพนักงาน

ดูหมิ่น จพง = ทำตามหน้าที่ / เพราะได้ทำ
แจ้งข้อความเป็นเท็จ จพง. ( ผู้อื่น / ประชาชนเสียหาย )

ต่อสู้ / ขัดขวาง จพง. / ผู้ต้องช่วยเหลือพนง.ตามกฎหมายในการปฏิบัติหน้าที่
ว.2 = ใช้กำลัง / ขู่จะใช้

ข่มขืนใจ จพง. ให้ปฏิบัติ มิชอบด้วยหน้าที่ ใช้กำลัง / ขู่ว่าจะใช้
ให้ละเว้น ตามหน้าที่


ความผิดม.138 ว.2 / ม.139 มี ใช้อาวุธ / 3 คนขึ้นไป
อ้างอั้งยี่ / ซ่องโจร ( มีหรือไม่ )
มี / ใช้ = ปืน / ระเบิด

ทำให้สห. = ตรา / เครื่องหมาย ( จพง.ประทับไว้ตามหน้าที่ ) เพื่อยึด / อายัด

ทำให้สห. / เอาไป = ทรัพย์สินที่ จพง. / คนอื่นยึดไว้ / รักษาไว้ ( ส่งเป็นพยาน )


เรียก / รับ / ยอมจะรับ = ทรัพย์สิน / ปย.อื่นใด ( ตอบแทนในการจูงใจ / ได้จูงใจ จพง. ) วิธีทุจริต / ผิดกฎหมาย / อิทธิพล
( *** กระทำการ / ไม่กระทำการ ในหน้าที่คุณ / โทษ แก่บุคคลใด*** )


ให้ / ขอให้ / รับว่าจะให้ = ทรัพย์สิน / ปย. อื่นใด แก่ จพง. ( จูงใจ )
( กระทำ / ไม่กระทำการ / ประวิงการกระทำ อันมิชอบด้วยหน้าที่ )


แสดงตนเป็นเจ้าพนักงาน + กระทำการเป็นจพง. ( ตนเองมิได้เป็น )
จพง. ได้รับคำสั่งมิให้ปฎิบัติตามตำแหน่ง = ยังฝ่าฝืนทำ


ไม่มีสิทธิสวมเครื่องแบบ, ประดับ จพง. / ไม่มีสิทธิใช้ยศ, ตำแหน่ง ( เครื่องราชอิสริยาภรณ์ ) กระทำให้เชื่อว่าตนมีสิทธิ





ความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ ( เป็นเจ้าพนักงาน / สมาชิกสภานิติบัญญัติ /
สภาจังหวัด / สมาชิกสภาเทศบาล)


ซื้อ / ทำ / จัดการ / รักษาทรัพย์ใด เบียดบังเป็นของตน / ผู้อื่น / ยอมให้ผู้อื่นเอา ( ทุจริต )
ใช้อำนาจในตำแหน่งโดยมิชอบ ( ข่มขืนใจ / จูงใจ ) บุคคล มอบให้ / หามาให้ซึ่งทรัพย์สิน แก่ตนเอง / ผู้อื่น
เรียก / รับ / ยอมจะรับ ทรัพย์สิน / ปย.อื่นใด แก่ตนเอง / ผู้อื่น กระทำ / ไม่กระทำการ ในตำแหน่ง ( ชอบ / มิชอบ )
ทำ / ไม่ทำ ( เห็นแก่ทรัพย์สิน ) ได้เรียก / รับ ก่อนได้รับแต่งตั้ง
ซื้อ / ทำ / จัดการ / รักษา ทรัพย์ใดๆ ( ใช้อำนาจในตำแหน่งโดยทุจริต ) เสียหายแก่รัฐ / เทศบาล / เจ้าของทรัพย์
จัดการ / ดูแลกิจการใด เข้ามีส่วนได้เสียเพื่อปย. ตน / ผู้อื่น
มีหน้าที่จ่ายทรัพย์ จ่ายเกินกว่าที่ควรจ่าย ( เพื่อปย.ตน / ผู้อื่น )
มีหน้าที่เรียกเก็บ / ตรวจสอบภาษี – ค่าธรรมเนียม ละเว้น / เก็บ ( ทุจริต ) / ทำ,ไม่ทำคนอื่นมิต้องเสีย / เสียน้อย
มีหน้าที่กำหนดราคาเพื่อเก็บภาษี กำหนดราคาเพื่อให้ผู้เสียเสียน้อยลง / ไม่เสีย ( ทุจริต )
มีหน้าที่ตรวจสอบบัญชี ( แนะนำ / ทำ / ไม่ทำ ) ละเว้นการลงบัญชี / ลงเท็จ / แก้ไขบัญชี / ทำหลักฐาน = ไม่เสียภาษี / น้อยลง
*** ปฏิบัติ / ละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายผู้หนึ่งผู้ใด ***
ปฏิบัติ / ละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต
ทำให้เสียหาย / ทำลาย / ซ่อน / เอาไป / สูญหาย / ไร้ปย ทรัพย์ / เอกสาร ( มีหน้าที่รักษาไว้ ) / ยอมให้คนอื่นทำ

มีหน้าที่ดูแล / รักษา ทรัพย์ / เอกสาร ( กระทำมิชอบด้วยหน้าที่ ) ถอน / ทำ / ทำลาย / ยอมให้คนอื่นทำ = ตรา / เครื่องหมาย
( จพง. ประทับ / หมายไว้ที่ทรัพย์ ตามหน้าที่ )
มีหน้าที่รักษา / ใช้ = ดวงตรา ( ราชการ ) ทำมิชอบโดยใช้ดวงตรา / ยอมให้คนอื่นทำ ( คนอื่น / ปชช เสียหาย )

มีหน้าที่ ทำ / กรอก / ดูแล เอกสาร ปลอม ( อาศัยโอกาสที่มีตำแหน่ง )

มีหน้าที่ ทำ / รับ / กรอก ทำดังนี้ 1. รับรองเป็นหลักฐาน = ตนทำ / ทำหน้าตน อันเป็นความเท็จ
2. รับรองเป็นหลักฐาน = ได้มีการแจ้งโดยที่ไม่มีการแจ้ง
3. ละเว้นไม่จด ( มีหน้าที่ต้องรับจด ) / จดเปลี่ยนแปลง
4. รับรองเป็นหลักฐาน = ข้อเท็จจริงเอกสารมุ่งพิสูจน์ความเท็จ
มีหน้าที่ในการไปรษณีย์ / โทรเลข / โทรศัพท์ ทำมิชอบด้วยหน้าที่ดังนี้
1. เปิด / ยอมคนอื่นเปิด
2. ทำให้เสียหาย / ทำลาย / ยอมให้คนอื่นทำลาย,สูญหาย
3. กัก / ส่งให้ผิดทาง / รู้ว่าไม่ใช่ยังส่ง ( ผู้ควรรับ )
4. เปิดเผยข้อความในนั้น

รู้ / อาจรู้ ความลับในราชการ กระทำมิชอบให้คนอื่นล่วงรู้ความลับ

มีหน้าที่ปฏิบัติการให้เป็นไปตามกฎหมาย / คำสั่งบังคับเป็นไปตามกฎหมาย ป้องปัน / ขัดขวาง มิให้การเป็นไปตามกฎหมาย / คำสั่ง

ละทิ้งงาน / กระทำให้งานหยุด / ชะงัก ( ร่วม 5 คนขึ้นไป )
ทำลงเพื่อเปลี่ยนแปลงกฎหมายแผ่นดิน / บังคับรัฐบาล / ข่มขู่ประชาชน
ความผิดต่อเจ้าพนักงานในการยุติธรรม

ให้ / ขอให้ / รับว่าจะให้ ( ทรัพย์สิน / ปย.อื่นใด ) จพง.ตุลาการ / อัยการ / พงส ไม่กระทำการ / กระทำ มิชอบด้วยหน้าที่

ขัดขืนคำบังคับ ( อัยการ / ผู้ว่าคดี / พงส ) มาให้ถ้อยคำ
ส่ง / จัดการส่งทรัพย์ , เอกสาร / สาบาน / ให้ปฎิญาณ

ขัดขืนหมาย / คำสั่งศาล มาให้ถ้อยคำ / เบิกความ / ส่งทรัพย์ , เอกสาร ( การพิจารณาคดี )
ขัดขืนคำสั่งของศาล ให้สาบาน / ให้ปฏิญาณ

แจ้งข้อความเท็จ ( อัยการ / พงส / จพง. ผู้มีอำนาจสืบสวนคดีอาญา ) ความผิดอาญา ( ผู้อื่น / ประชาชนเสียหาย )
รู้ว่ามิได้มีการทำผิด แจ้ง ( พงส. / ผู้มีอำนาจสืบสวนคดีอาญา ) ว่ามีการทำผิด
แจ้ง 2 ความผิดด้านบน แกล้งให้ถูกบังคับตามวิธีการเพื่อความปลอดภัย
ว.2 = ให้รับโทษ / รับโทษหนักขึ้น

เอาความเท็จฟ้องศาล กระทำผิดอาญา / แรงกว่าที่เป็นจริง
( ลุแก่โทษ + ถอนฟ้อง / แก้ฟ้อง ก่อนศาลพิพากษา = ศาลลงน้อยกว่าที่กฎหมายกำหนด / ไม่ลงโทษเลยได้ )

เบิกความเท็จในการพิจารณาคดีต่อศาล ( ความเท็จ = ข้อสำคัญในคดี )
ว.แรก = กระทำในคดีอาญา

จพง. ตำแหน่งตุลาการ / อัยการ / พงส. ให้แปลข้อความแล้วแปลผิดไปในข้อสำคัญ

ทำพยานเท็จ ( พงส. / ผู้มีอำนาจสอบสวนคดีอาญา ) เชื่อว่าได้มีความผิดอาญาเกิดขึ้น / ร้ายแรงกว่าจริง

นำสืบ / แสดง ( พยานเท็จ = ในการพิจารณาคดี ) ข้อสำคัญในคดี
ว.แรก = กระทำในคดีอาญา

แจ้งเท็จ / ฟ้องเท็จ / เบิกความเท็จ / แปลเท็จ / นำสืบพยานเท็จ 1. โทษจำคุก 3 ปีขึ้นไป
2. โทษประหารชีวิต / จำคุกตลอดชีวิต

เบิกความเท็จ / แปลเท็จ ลุแก่โทษ + แจ้งความจริงต่อศาล / จพง. ( ก่อนจบคำเบิกความ / แปล ) = ไม่ต้องรับโทษ
เบิกความเท็จ / แปลเท็จ / นำสืบพยานเท็จ ลุแก่โทษ + แจ้งความจริงต่อศาล / จพง. ก่อนมีคำพิพากษา+ก่อนตนถูกฟ้องในความผิดที่ทำ


ลงโทษน้อยกว่าที่กฎหมายหำหนด




ความผิดต่อเจ้าพนักงานในการยุติธรรม ( 2 )

ช่วยมิให้รับโทษ / รับโทษน้อยลง ( เสียหาย / ทำลาย / ซ่อน / เอาไปเสีย / หาย ) พยานหลักฐานในการกระทำความผิด
เสียหาย / ทำลาย / ซ่อน / เอาไปเสีย / หาย ทรัพย์ / เอกสาร ( ส่งไว้ต่อศาล / ศาลรักษาไว้ )
ทรัพย์สินที่มีคำพิพากษาให้ริบ

เสียหาย / ทำลาย / ซ่อน / เอาไปเสีย / หาย ทรัพย์ที่ถูกอายัด / ยึด / น่าจะรู้ว่าถูกอายัด ( มิให้เป็นไปตามคำพิพากษา )

*** เสียหาย / ทำลาย / ซ่อน / เอาไปเสีย / หาย พินัยกรรม / เอกสารอันใด ( ผู้อื่น ) = น่าจะเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชน ***

หลบหนี / ช่วยเหลือ

ช่วย ผู้ทำผิด / ผู้ต้องหา ( มิใช่ลหุโทษ ) เพื่อมิให้ต้องโทษ ให้ที่พำนัก ( ซ่อน / ช่วย = มิให้ถูกจับกุม )

หลบหนีระหว่างที่ถูกคุมขัง ( ตามอำนาจศาล / อัยการ / พงส ผู้มีอำนาจสืบสวนคดีอาญา )
ว.2 = ทำข้างบนโดย 1. แหกที่คุมขัง ( ใช้กำลัง / ขู่จะใช้ )
2. ร่วมทำ 3 คนขึ้นไป
ว.3 = ทำมาตรานี้โดย มี,ใช้ = ปืน / ระเบิด

กระทำด้วยประการใด ผู้ถูกคุมขัง ( ศาล / อัยการ / พงส / เจ้าพนง.ผู้มีอำนาจสืบสวนคดีอาญา ) = หลุดพ้นจากการคุมขัง
ว.2 = บุคคลที่หลุดไปลงโทษ ประหารชีวิต / จำคุกตลอดชีวิต / 15 ปีขึ้นไป / หลุด 3 คนขึ้นไป
ว.3 = ทำมาตรานี้ 1. ใช้กำลัง / ขู่จะใช้
2. มี,ใช้ = ปืน / ระเบิด

ให้พำนัก / ซ่อน / ช่วยประการใด ผู้หลบหนีจากการคุมขัง ( พงส. / เจ้าพนักงานผู้มีอำนาจสืบสวนคดีอาญา ) = มิให้ถูกจับ

ทำลายพยาน / ช่วยมิให้ถูกจับ / ให้ที่พำนัก ช่วย บิดา / มารดา / บุตร / สามีภรรยาผู้กระทำ = ศาลไม่ลงโทษก็ได้

เล็กๆ น้อยๆ

ต้องคำพิพากษาห้ามเข้าเขตกำหนด ( ม.45 ) = เข้าไปในเขต
หลบหนีจากสถานพยาบาลศาลคุมตัวไว้ ( ม.49 )
ฝ่าฝืนคำสั่งห้ามของศาล ( สั่งในคำพิพากษา ) ( ม.50 )
ใช้กำลัง / ขู่จะใช้ / ให้ปย. / รับปย. กีดกันการขายทอดตลาด ( ตามคำพิพากษา / คำสั่งของศาล )

*** ดูหมิ่นศาล / ผู้พิพากษา ( ในการพิจารณาคดี / พิพากษาคดี ) / ขัดขวางการพิจารณา / พิพากษาของศาล ***
ลอบฝัง / ซ่อน / ย้าย / ทำลาย = ศพ / ส่วนของศพ เพื่อปิดบังการเกิด / ตาย / เหตุการณ์ตาย
ความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ในการยุติธรรม

เป็นจพง. ( อัยการ / ผู้ว่าคดี / พงส. / จพงผู้มีอำนาจสืบสวนคดีอาญา,จัดการให้เป็นไปตามหมายอาญา )

กระทำการ / ไม่กระทำ ในตำแหน่งอันมิชอบ
เรียก / รับ / ยอมจะรับ ทรัพย์สิน,ปย.อื่นใด
( ตนเอง / ผู้อื่น เพื่อกระทำ / ไม่กระทำ
เพื่อช่วยบุคคลมิให้ต้องรับโทษ / น้อยลง อย่างใดในตำแหน่ง ( ชอบ / มิชอบ )


ว.2 = แกล้งบุคคลต้องรับโทษ / หนักขึ้น / วิธีการเพื่อความปลอดภัย


เป็นเจ้าพนักงาน ( ตุลาการ / อัยการ / ผู้ว่าคดี / พงส. ) กระทำ / ไม่กระทำ ในตำแหน่ง( เห็นแก่ทรัพย์สินที่ตนเรียก / ได้รับ ก่อนแต่งตั้ง )

เป็นเจ้าพนักงาน ( มีหน้าที่ปฏิบัติการให้เป็นไปตามคำพิพากษา / คำสั่งของศาล ) ป้องกัน / ขัดขวางมิให้เป็นไปตามคำพิพากษา / คำสั่ง


เป็นเจ้าพนักงาน ( ควบคุมดูแลผู้คุมขังตามอำนาจศาล / พงส / จพง.ผู้มีอำนาจสืบสวนคดีอาญา ) กระทำประการใดให้ผู้คุมขังหลุดไป
ว.2 = คนที่หลุดไป ประหาร / จำคุกตลอดชีวิต / 15 ปีขึ้น / 3 คนขึ้นไป ( ระหว่างคุมขัง )

กระทำข้างบน ( ประมาท )
ว.2 = ประหาร / จำคุกตลอดชีวิต / 15 ปีขึ้น / 3 คนขึ้นไป
ว.3 = ผู้ทำผิดจัดให้ได้ตัวผู้ที่หลุดพ้นไป ใน 3 เดือน = งดการลงโทษ

ศาสนา

กระทำประการใด วัตถุ / สถานที่เคารพในทางศาสนา ( เหยียดหยามศาสนา )
ก่อให้เกิดการวุ่นวาย ที่ประชุมศาสนิกชนเวลาประชุม นมัสการ พิธีกรรมทางศาสนา ( ชอบด้วยกฎหมาย )
แต่งกาย / ใช้เครื่องหมาย แสดงว่า ภิกษุ / สามเณร / นักพรต / นักบวช ( ศาสนาใด ) โดยมิชอบ ( เพื่อให้คนอื่นเชื่อว่าเป็น )








ความสงบสุขของประชาชน

เป็นสมาชิกคณะบุคคล ปกปิดวิธีดำเนินการ + มีความมุ่งหมายการอันมิชอบด้วยกฎหมาย = อั้งยี่
ว.2 = เป็นหัวหน้า / ผู้จัดการ / ผู้มีตำแหน่งหน้าที่ในคณะบุคคลนั้น

สมคบ 5 คน + ทำผิดในภาค 2 ( โทษ 1 ปีขึ้นไป ) = ซ่องโจร
สมคบ = โทษประหารชีวิต / ตลอดชีวิต / 10 ปีขึ้น

ประชุมในที่ประชุมอั้งยี่ / ซ่องโจร = กระทำผิดอั้งยี่ / ซ่องโจร ( เว้นประชุมโดยไม่รู้ว่าเป็นอั้งยี่ / ซ่องโจร )

ผู้ใด 1. จัดหาที่ประชุม / ที่พำนัก = อั้งยี่ / ซ่องโจร
2. ชักชวนบุคคลให้เข้าเป็นสมาชิก อ / ซ กระทำผิดอั้งยี่ / ซ่องโจร
3. อุปการะ อ / ซ โดยให้ทรัพย์
4. ช่วยจำหน่ายทรัพย์ ( อ / ซ ) ได้มาโดยการกระทำความผิด

สมาชิก ( อ / ซ ) คนหนึ่งกระทำความผิดตามความมุ่งหมาย อยู่ด้วย / อยู่ในที่ประชุมแต่ไม่คัดค้าน / หัวหน้า / ผจก = โดนทุกคน

จัดหาที่พัก / ที่ซ่อนเร้น / ที่ประชุมให้บุคคลที่ตนรู้ว่าเป็นบุคคลผู้ทำผิดบัญญัติไว้ในภาค 2
ว.2 = ทำเพื่อช่วยบิดา / มารดา / บุตร / สามี,ภรรยา ผู้กระทำ = ศาลไม่ลงโทษก็ได้

มั่วสุม 10 ขึ้น + ใช้กำลัง / ขู่เข็ญ / กระทำการวุ่นวายขึ้นในบ้านเมือง
คนใดคนหนึ่งมีอาวุธ บรรดาผู้กระทำความผิดโดนหมด
หัวหน้า / ผู้มีหน้าที่สั่งการ ในการกระทำความผิด

จพง. สั่งผู้มั่วสุมเพื่อกระทำ ม. 215 ให้เลิก ผู้ใดไม่เลิก

















ก่อให้เกิดภยันตรายต่อประชาชน

วางเพลิงเผาทรัพย์ ผู้อื่น

วางเพลิงทรัพย์ ดังนี้ 1. โรงเรือน / เรือ / แพที่คนอยู่อาศัย
2. โรงเรือน / เรือ / แพที่เก็บสินค้า
3. โรงมหรสพ / สถานที่ประชุม
4. โรงเรือนสาธารณสมบัติของแผ่นดิน / สาธารณสถาน / สถานที่ประกอบพิธีกรรมทางศาสนา
5. สถานีรถไฟ / ท่าอากาศยาน / ที่จอดรถ เรือ สาธารณะ
6. เรือลไฟ / เรือยนต์ ( 5 ตันขึ้น ) / รถไฟ ( ขนส่งสาธารณะ )

ตระเตรียมทำผิด ( ข้างบน ) ระวางโทษพยายาม

ทำให้เพลิงไหม้ ( วัตถุใด ) แม้ของตนเอง น่าจะเป็นอันตรายแก่คนอื่น / ทรัพย์คนอื่น
ว.2 = เป็นเหตุให้เกิดเพลิงไหม้ ทรัพย์ 1-6 ( ระวางโทษ ม. 218 )

ทำให้เกิดระเบิด น่าจะเป็นอันตรายแก่คนอื่น / ทรัพย์คนอื่น
ทำให้เกิดระเบิด กับทรัพย์ผู้อื่น / 1-6

ทำให้ เพลิงไหม้ / ระเบิด / น่าจะ ทรัพย์ราคาน้อย + ไม่เป็นอันตรายแก่บุคคลอื่น

เพลิงไหม้ / ระเบิด ( 2 มาตรา ) บุคคลอื่นตาย
ว.2 = สาหัส

เพลิงไหม้ โดยประมาท + ทรัพย์ผู้อื่นเสียหาย
น่าจะเป็นอันตรายแก่ชิวิตบุคคลอื่น












ทั่วไป

กระทำต่อ โรงเรือน / อู่เรือ / ที่จอดรถ / ทุ่นทอดจอดเรือ / สายไฟฟ้า ( ป้องกันอันตรายแก่บุคคล / ทรัพย์ ) = น่าจะอันตรายแก่คนอื่น

มีวิชาชีพออกแบบ / ก่อสร้าง / ซ่อม / ถอน = อาคาร ( ไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ ) น่าจะอันตรายกับคนอื่น

กระทำให้เกิดอุทกภัย / ขัดข้องการใช้น้ำ น่าจะอันตรายกับคนอื่น / ทรัพย์คนอื่น
ว.2 = เกิดอันตรายกับคนอื่น / ทรัพย์คนอื่น

กระทำด้วยประการใด ทางสาธารณะ / ประตูน้ำ / เขื่อน / ที่ขึ้นลงอากาศยาน = น่าจะเป็นอันตรายแก่การจราจร

เอาสิ่งใดๆ กีดขวางทางรถไฟ / ทำให้รางหลุด / หลวม / ทำแก่เครื่องสัญญาณ = น่าจะเป็นอันตรายแก่การเดินรถไฟ / รถราง

กระทำประการใด ประภาคาร / สัญญาณเพื่อความปลอดภัย ( บก / เรือ / อากาศ ) = น่าจะอันตรายแก่การจราจร ( บก / เรือ / อากาศ )

กระทำประการใด 1. เรือเดินทะเล / อากาศยาน / รถไฟ
2. รถยนต์ใช้ขนส่งสาธารณะ น่าจะเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่บุคคล
3. เรือกลไฟ / เรือยนต์ ( 5 ตันขึ้นไป ) ขนส่งสาธารณะ

** ใช้ยานพาหนะรับจ้างขนส่งคน ( มีลักษณะ / การบรรทุก = น่าจะเป็นอันตรายแก่บุคคลในยานพาหนะนั้น **

กระทำประการใด สิ่งที่ใช้ผลิตส่งพลังงานไฟฟ้า / ส่งน้ำ = ประชาชนขาดความสะดวก / น่าจะอันตรายแก่ประชาชน

กระทำประการใด ให้การสื่อสารสาธารณะ ( ไปรษณีย์ / โทรเลข / โทรศัพท์ / วิทยุ ) = ขัดข้อง

*** ปลอมปน ( อาหาร / ยา / เครื่องอุปโภค บริโภค ) เพื่อบุคคลอื่นเสพ / ใช้ + เป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่สุขภาพ ***
จำหน่าย / เสนอขาย ( เพื่อบุคคลเสพ / ใช้ )

เอาของมีพิษ / สิ่งที่อันตราย เจือลงในอาหาร / น้ำในบ่อ / สระ / อาหาร น้ำ จัดไว้ให้ประชาชนบริโภค

บททั่วไป คนอื่นถึงแก่ความตาย
ว.2 = สาหัส

บททั่วไป ประมาท + ใกล้จะอันตรายแก่ชีวิตคนอื่น








ความผิดเกี่ยวกับเงินตรา

ปลอม เงินตรา ( เพื่อเป็นเหรียญ / ธนบัตร ) รัฐบาลออกใช้ ปลอมเงินตรา
พันธบัตรรัฐบาล ใบสำคัญสำหรับรับดอกเบี้ยพันธบัตร

แปลง เงินตรา ( เพื่อเป็นเหรียญ / ธนบัตร ) รัฐบาลออกใช้ แปลงเงินตรา
( ผิดจากเดิม ) พันธบัตรรัฐบาล ใบสำคัญสำหรับรับดอกเบี้ยพันธบัตร
( ให้ผู้อื่นเชื่อว่ามีมูลค่าสูงกว่าจริง )

กระทำให้เหรียญกษาปณ์ ( ทุจริต ) มีน้ำหนักลดลง
ว.2 = นำเข้าในราช / นำออกใช้ / มีไว้เพื่อนำออก ( เหรียญที่มีน้ำหนักลดลง )

นำเข้า ( ปลอม ม.240 / แปลง ม.241 )
มีไว้เพื่อนำออกใช้อันตนรู้ว่าเป็นของ ( ปลอม ม.240 / แปลง ม.241 )

ได้มาซึ่งสิ่งใดๆ โดยไม่รู้ ( ปลอม / แปลง ) ต่อมารู้ ก็ยังขืนนำออกใช้

ทำเครื่องมือ / วัตถุ สำหรับ ปลอม / แปลง เงินตรา ( เพื่อเป็นเหรียญ / ธนบัตร ) รัฐบาลออกใช้
มีเครื่องมือเพื่อใช้ในการปลอม / แปลง พันธบัตรรัฐบาล ใบสำคัญสำหรับรับดอกเบี้ยพันธบัตร

ทำหมวดนี้ต่อ เงินตรา ( เพื่อเป็นเหรียญ / ธนบัตร ) รัฐบาลออกใช้ ( รัฐบาลต่างประเทศ ) = รับโทษกึ่งหนึ่งของโทษมาตรา )
พันธบัตรรัฐบาล ใบสำคัญสำหรับรับดอกเบี้ยพันธบัตร

กระทำ ปลอม / แปลง / รัฐบาลต่างประเทศ กระทำผิดมาตราอื่นด้วยในหมวดนี้ = ให้ลงโทษ ใน ม. 240 241 247 ( กระทงเดียว )

ทำบัตร / โลหธาตุ ( มีลักษณะคล้ายคลึงกับเงินตรา = เงินตรา ( เพื่อเป็นเหรียญ / ธนบัตร ) รัฐบาลออกใช้
จำหน่ายบัตร / โลหธาตุ พันธบัตรรัฐบาล ใบสำคัญสำหรับรับดอกเบี้ยพันธบัตร
ว.2 = การจำหน่าย โดยการนำออกใช้ดังเช่นสิ่งใดๆ ในวรรคแรก










แสตมป์ ผ่านไป

ความผิดเกี่ยวกับเอกสาร

ทำเอกสารปลอม ( ทั้งฉบับ / บางส่วน ) / เติม ตัด แก้ไขทอนข้อความในเอกสารที่แท้จริง / ประทับตราปลอม / ลงชื่อปลอม ในเอกสาร
( *** ประการน่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่น / ประชาชน *** )

ทำเพื่อให้ผู้หนึ่งผู้ใดหลงเชื่อว่าเป็นเอกสารที่แท้จริง = ปลอมเอกสาร

ว.2 = กรอกข้อความในกระดาษ มีลายมือชื่อผู้อื่นโดยไม่ได้รับความยินยอม / ฝ่าฝืนคำสั่งผู้อื่น



เพื่อเอาเอกสารไปใช้ในกิจการที่อาจเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด / ประชาชน = ปลอมเอกสาร ( ระวางโทษเช่นเดียวกัน )

ปลอม เอกสารสิทธิ / เอกสารราชการ

ปลอม 1. เอกสารสิทธิอันเป็นเอกสารราชการ
2. พินัยกรรม
3. ใบหุ้น / ใบหุ้นกู้ / ใบสำคัญของใบหุ้นหรือใบหุ้นกู้
4. ตั๋วเงิน
5. บัตรเงินฝาก

แจ้งให้ จพง. / ผู้กระทำตามหน้าที่ จดข้อความเท็จในเอกสารมหาชน / เอกสารราชการ ( เป็นพยานหลักฐาน )
( *** ประการน่าจะเสียหายแก่ผู้อื่น / ประชาชน *** )

ใช้ / อ้าง เอกสารอันเกิดจากการกระทำความผิด มาตรา 264 265 266 267 ( *** น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่น *** )
ว.2 = ผู้ทำผิดวรรคแรก = เป็นผู้ปลอม / แจ้งให้ จพง. จด ( ลงโทษตามมาตรานี้แต่กระทงเดียว )

ประกอบอาชีพ แพทย์ / กฎหมาย / บัญชี ทำคำรับรองเอกสารเป็นเอกสารอันเป็นเท็จ
( *** ประการน่าจะเสียหายแก่ผู้อื่น / ประชาชน *** )
ว.2 = ใช้ /อ้าง คำรับรอง ( โดยทุจริต )







ความผิดเกี่ยวกับบัตรอิเล็กทรอนิกส์
ทำบัตร อ. ปลอมขึ้น ( ทั้งฉบับ / ส่วนหนึ่งส่วนใด ) / เติม ตัดทอนข้อความ แก้ไขในบัตร อ. ที่แท้จริง
( *** ประการน่าจะเสียหายแก่ผู้อื่น / ประชาชน *** )

กระทำให้ผู้หนึ่งผู้ใดเชื่อว่าเป็นบัตร อ. แท้จริง / เพื่อใช้ปย. อย่างหนึ่งอย่างใด = ปลอมบัตรอิเล็กทรอนิกส์

ทำเครื่องมือ / วัตถุ ( สำหรับปลอม / แปลง / ให้ได้ข้อมูลในการปลอม แปลงซึ่งมาตราบน )
มีเครื่องมือ / วัตถุ = เพื่อให้ได้ข้อมูลในการปลอม / แปลง

นำเข้าใน / ส่งออกนอก ( สิ่งใดๆ ในข้างบน )

ใช้ / มีไว้เพื่อใช้ ( บัตร อ. บนสุด ) อันได้มาโดยรู้ว่าเป็นของปลอม / แปลงขึ้น
ว.2 = จำหน่าย / มีไว้เพื่อจำหน่าย ( สิ่งใดๆ ที่ทำปลอมหรือแปลง ม. 269 /1 )
ว.3 = ผู้ทำผิดวรรคแรก / วรรคสอง เป็นผู้ปลอมบัตร อ. ( ลงโทษมาตรานี้กระทงเดียว )

ใช้บัตร อ. ของผู้อื่นโดยมิชอบ
( *** ประการน่าจะเสียหายแก่ผู้อื่น / ประชาชน *** )

มีไว้เพื่อนำออกใช้บัตร อ. ของผู้อื่นโดยมิชอบ
( *** ประการน่าจะเสียหายแก่ผู้อื่น / ประชาชน *** )


การทำในหมวดนี้ ทำกับบัตร อ. ที่ผู้ออกได้ออกให้แก่ผู้มีสิทธิใช้เพื่อใช้ปย. ในการชำระสินค้า / ค่าบริการ / หนี้อื่นแทนชำระเงินสด
( ระวางโทษหนักกว่าที่บัญญัติไว้ในมาตรานั้นๆ กึ่งหนึ่ง ) ใช้เบิกถอนเงินสด
















ความผิดเกี่ยวกับการค้า

ใช้ / มีไว้เพื่อใช้ เครื่องชั่ง / เครื่องตวง / เครื่องวัด ( ที่ผิดอัตราเพื่อเอาเปรียบในการค้า )
มีเครื่องนี้เพื่อขาย

ขายของโดยหลอกลวง ให้ผู้ซื้อหลงเชื่อในแหล่งกำเนิด สภาพ คุณภาพ ปริมาณ เป็นความเท็จ ( การกระทำไม่เป็นความผิดฐานฉ้อโกง )

ผู้ใด 1. เอาชื่อ รูป รอยประดิษฐ์ ข้อความในการประกอบการค้าของผู้อื่นมาใช้ / ทำให้ปรากฎที่สินค้า
*** เพื่อให้ประชาชนเชื่อว่าเป็นสินค้าของผู้อื่น ***
2. เลียนป้าย = ประชาชนน่าจะเชื่อว่าสถานที่การค้าของตนเป็นสถานที่การค้าของผู้อื่นที่ตั้งใกล้เคียง
3. ไขข่าวแพร่หลาย = ข้อความเท็จเพื่อให้เสียความเชื่อถือในสถานที่การค้า / สินค้า / อุตสาหกรรม **มุ่งปย. การค้าของตน **
*** มาตรานี้ยอมความได้ ***

ปลอมเครื่องหมายการค้าผู้อื่น ( จดทะเบียนแล้ว ใน / นอก )
เลียนเครื่องหมายการค้าผู้อื่น ( จดทะเบียนแล้ว ใน / นอก ) *** เพื่อให้ประชาชนหลงเชื่อว่าเป็นเครื่องหมายการค้าของผู้อื่น ***

นำเข้าในราช / จำหน่าย / เสนอจำหน่าย = สินค้าที่มีชื่อ รูป / รอยประดิษฐ์ / ข้อความใดๆ ใน 1. / สินค้าทีมีเครื่องหมายการค้าปลอม / เลียน
( 2 ความผิดข้างบน )


ความผิดเกี่ยวกับเพศ


ข่มขืนกระทำชำเรา ญ อื่น ( มิใช่ภรรยาตน ) ขู่เข็ญด้วยประการใดๆ ญ ไม่สามารถขัดขืนได้ / ญ เข้าใจผิดว่าตนเป็นบุคคลอื่น
โดยใช้กำลังประทุษร้าย
ว.2 = มี ใช้ ปืน ระเบิด / โทรมหญิง

กระทำชำเรา เด็กหญิง ไม่เกิน 15 + มิใช่ภรรยาตน + ยอมหรือไม่ก็ตาม
ว.2 = เด็กไม่เกิน 13
ว.3 = โทรม ญ + เด็กไม่ยอม ( ว.1,2 ) / มีอาวุธปืน,ระเบิด / โดยใช้อาวุธ
ว.4 = ว.แรก เด็กหญิง 13 ไม่เกิน 15 + เด็กยอม + ศาลอนุญาตให้สมรสกัน = ไม่ต้องรับโทษ / รับโทษอยู่ปล่อยตัวไป

กระทำ 2 ความผิด ม. 276, ม.277 ว.1 2 1. สาหัส
2. ตาย
กระทำความผิด ม.276 ว.2, ม.277 ว.3 1. สาหัส
2. ตาย

อนาจาร

กระทำอนาจาร บุคคลกว่า 15 ปี ขู่เข็ญด้วยประการใดๆ บุคคลนั้นไม่สามารถขัดขืนได้ / บุคคลนั้นเข้าใจผิดว่าตนเป็นคนอื่น
โดยใช้กำลังประทุษร้าย

กระทำอนาจาร เด็กไม่เกิน 15 + เด็กยอมหรือไม่
ว.2 = ขู่เข็ญประการใดโดยใช้กำลังประทุษร้าย = ขัดขืนไม่ได้ / เข้าใจผิด

กระทำความผิด ม. 278 279 ( อนาจาร ) สาหัส
ตาย

กระทำความผิดมาตรา 276 ว.แรก + ม.278 ( อนาจาร 15 ขึ้น ) มิได้เกิดต่อหน้าธารกำนัล
ไม่เป็นเหตุให้ผู้กระทำสาหัส,ตาย ยอมความได้
มิได้ทำแก่บุคคลดังระบุไว้ในมาตรา 285

สนองความใคร่

เพื่อสนองความใคร่ของผู้อื่น เป็นธุระ / จัดหา / ล่อไป / พาไป ( อนาจาร ช / ญ ) *** แม้ผู้นั้นจะยินยอมก็ตาม ***
ว.2 = เกิน 15 ไม่เกิน 18
ว.3 = เด็กไม่เกิน 15
ว.4 = เพื่อสนองความใคร่ผู้อื่น รับตัวบุคลที่มีผู้จัดหา / ล่อไป / พาไป ( ว.123 ) รับโทษ ใน ว.123 ( ตามที่ทำ )

เพื่อสนองความใคร่ของผู้อื่น เป็นธุระ / จัดหา / ล่อไป / พาไป ( อนาจาร ช / ญ ) โดยใช้อุบาย หลอกลวง ขู่เข็ญ ใช้กำลัง ใช้อำนาจ
ว.2 = เกิน 15 ไม่เกิน 18 ข่มขืนใจ
ว.3 = เด็กไม่เกิน 15
ว.4 = เพื่อสนองความใคร่ผู้อื่น รับตัวบุคลที่มีผู้จัดหา / ล่อไป / พาไป ( ว.123 ) รับโทษใน ว.123 ( ตามที่ทำ )

พาไปอนาจาร

พาอายุเกิน 15 แต่ไม่เกิน 18 ไปเพื่อการอนาจาร *** แม้ผู้นั้นจะยอมก็ตาม ***
ว.2 = เด็กไม่เกิน 15 ปี
ว.3 = ซ่อนเร้นบุคคลที่ถูกพาไป ( ว.12 ) ระวางโทษวรรค (1 2 )
ว.4 = ความผิด ว.1 + 3 กระทำแก่บุคคลอายุเกิน 15 ปี

พาผู้อื่นไปเพื่ออนาจาร ( อุบาย / ใช้กำลัง / ใช้อำนาจครอบงำ / ข่มขืนใจ )
ว.2 = ซ่อนเร้นบุคคลที่ถูกพาไปตาม ว.แรก
ว.3 = มาตรานี้ยอมความได้

** ม. 276 / 277 / 277 ทวิ / 277 ตรี / 278 / 279 / 280 / 282 / 283 ท ผู้สืบสันดาน / ศิษย์ในความดูแล /
ผู้ในความควบคุมตามหน้าที่ราชการ
ผู้อยู่ในความปกครอง / ความพิทักษ์ / ความอนุบาล
( ระวางโทษหนักกว่าที่บัญญัติไว้ในมาตรานั้น 1 ใน 3 )
อายุกว่า 16 ปี ดำรงชีพแม้เพียงบางส่วนจากรายได้ ญ ค้าประเวณี
ว.2 = ผู้ใดไม่มีปัจจัยดำรงชีพ / ไม่มีปัจจัยเพียงพอสำหรับดำรงชีพ และ อยู่ร่วมกับ ญ ( ค้า ) / สมาคมกับ ญ คนเดียว / หลายคน
( เป็นอาจิณ )

กินอยู่หลับนอน / รับเงิน / ปย. อย่างอื่น ( ญ (ค้า) จัดให้ )

เข้าแทรกแซงเพื่อช่วย ญ ทะเลาะกับผู้ที่คบ ญ
ถือว่าผู้นั้นดำรงชีพอยู่จากรายได้ของ ญ ค้าประเวณี
เว้น พิสูจน์ให้เป็นที่พอใจว่ามิได้เป็นเช่นนั้น
ว.3 = มาตรานี้ไม่บังคับ ผู้รับค่าเลี้ยงดูจาก ญ ( ตามกฎหมาย / ธรรมจรรยา )

ผู้ใด 1. เพื่อความประสงค์การค้า / ทำ / ผลิต / มีไว้ / นำเข้า / ส่งออก = เอกสาร / ภาพ รูปถ่าย / ภาพยนตร์ *** สิ่งลามก ***
2. ประกอบการค้า / มีส่วนเกี่ยวข้องในการค้าเกี่ยวกับวัตถุลามก / จ่ายแจก / แสดงอวด / ให้เช่า แก่ประชาชน
3. ช่วยทำให้แพร่หลาย / โฆษณา / ไขข่าว ว่ามีคนทำผิดตามมาตรานี้ / หาได้จากบุคคลใด / วิธีใด

บทนิยาม

โดยทุจริต = เพื่อแสวงหาปย.ที่มิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมายสำหรับ ตน / ผู้อื่น

สาธารณสถาน = สถานที่ใดๆ ซึ่งประชาชนมีความชอบธรรมที่จะเข้าไปได้
ทางสาธารณะ = ทางบก / น้ำ ( ประชาชนสัญจร ) + ทางรถไฟ / ทางรถรางที่มีรถเดิน + ประชาชนโดยสาร
เคหสถาน = ที่ใช้อยู่อาศัย เช่น เรื่อน โรงเรือน ฯ

อาวุธ = สิ่งซึ่งไม่เป็นอาวุธโดยสภาพ + ใช้ประทุษร้ายร่างกาย

เอกสาร = กระดาษ / วัตถุ ( ปรากฏความหมายด้วยตัวอักษร / ตัวเลข ฯ ) จะโดยวิธีพิมพ์ภาพถ่าย / วิธีอื่น ( เป็นหลักฐานความหมายนั้น )
เอกสารราชการ = เอกสารที่ จพง. ได้ทำขึ้น / รับรอง ในหน้าที่ + สำเนาที่ จพง. รับรองในหน้าที่ด้วย
เอกสารสิทธิ = เอกสารที่เป็นหลักฐาน ก่อ เปลี่ยนแปลง โอน สวงน ระงับซึ่งสิทธิ
ลายมือชื่อ = รวมลายพิมพ์นิ้วมือ + เครื่องหมายซึ่งบุคคลลงไว้แทนลายมือชื่อตน

บัตรอิเล็กทรอนิกส์ = เอกสารที่ผู้ออกได้ออกให้แก่ผู้มีสิทธิใช้ ( ระบุชื่อหรือไม่ก็ตาม ) โดยบันทึกข้อมูล / รหัส ไว้ด้วยการประยุกต์ใช้วิธีการทาง
อิเล็กตรอน ไฟฟ้า คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า + การประยุกต์ใช้วิธีการทางแสง / แม่เหล็กให้ปรากฏความหมายตัวอักษร ตัวเลข รหัส
หมายเลขบัตร
= ข้อมูล รหัส หมายเลขบัญชี หมายเขชุดทางอิเล็กทรอนิกส์ หรือเครื่องมือทางตัวเลขใดๆ ที่ผูออกได้ออกแก่ผู้มีสิทธิใช้
โดยมิได้ออกเอกสารหรือวัตถุอื่นใดให้
= สิ่งอื่นใดที่ใช้ประกอบข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์เพื่อแสดงความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลกับข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์
มีวัตถุประสงค์เพื่อระบุตัวบุคคลผู้เป็นเจ้าของ
การใช้กฎหมายอาญา

ต้องรับโทษเมื่อได้กระทำการที่กฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำบัญญัติว่าเป็นความผิด + กำหนดโทษไว้ + โทษที่จะลงต้องบัญญัติในกฎหมาย
ว.2 = ถ้ากฎหมายที่บัญญัติภายหลัง การกระทำเช่นนั้นไม่เป็นความผิด = ให้พ้นจากการทำผิด
ถ้ามีคำพิพากษาให้ลงโทษก็ถือว่าไม่เคยต้องคำพิพากษา
รับโทษอยู่ก็ให้การลงโทษสิ้นสุด

กฎหมายที่ใช้ขณะกระทำความผิด แตกต่าง กับที่ใช้ภายหลัง ให้ใช้ในส่วนที่เป็นคุณ ( ไม่ว่าทางใด ) เว้นคดีถึงที่สุดแล้ว
แต่กรณีถึงที่สุดดังนี้
1 . ยังไม่ได้รับโทษ / รับอยู่ + โทษที่กำหนดตามคำพิพากษาหนักกว่ากฎหมายบัญญัติภายหลัง = กำหนดโทษเสียใหม่
( ความปรากฏแก่ศาลเอง / ผู้ทำผิด / ผู้แทน / ผู้อนุบาล / อัยการ = ร้องขอ )



ถ้าปรากฏว่าได้รับมาบ้างแล้ว = คำนึงโทษที่บัญญัติภายหลัง
หากสมควรก็กำหนดโทษน้อยกว่าโทษขั้นต่ำที่กฎหมายบัญญัติภายหลัง
หากสมควรเห็นรับโทษพอแล้ว = ปล่อยตัวไปได้

2. ศาลพิพากษาให้ประหารชีวิต + กฎหมายภายหลังลงไม่ถึงประหารชีวิต = งดการประหาร + ถือว่าประหารตามคำพิพากษาได้เปลี่ยน
เป็นโทษสูงสุดที่จะลงได้ในภายหลัง

ใน – นอก ราชอาณาจักร

ในราชอาณาจักร
กระทำความผิดในราช รับโทษตามกฎหมาย
ว.2 = ในเรือไทย / อากาศยานไทย ( ณ ที่ใด ทำผิดในราชอาณาจักร

แม้ส่วนหนึ่งส่วนใดทำในราช / ผลเกิดในราช ( ผู้กระทำประสงค์ในราช ) / ลักษณะการกระทำ ผลที่เกิดควรเกิดในราช / เล็งเห็นว่าจะเกิดในราช
ว.2 = ตระเตรียมการ / พยายามกระทำการ ( กม. บัญญัติเป็นความผิด ) แม้ทำนอกราช หากทำจนสำเร็จ = ผลจะเกิดในราช


ถือว่ากระทำความผิดในราช / ตระเตรียม / พยายามทำในราช ( ทั้ง 2 วรรค )

ความผิดที่ทำในราช / หรือถือว่าทำในราช ( ตัวการ / ผู้สนับสนุน / ผู้ใช้ ทำนอกราช ) ถือว่าทำในราช

ผู้ใดทำผิดนอกราช ต้องรับโทษในราช 1. ความมั่นคง ( ม.107-129 )
*** ก่อการร้าย ( ม.135/1-4 ) ***
2. ปลอม / แปลง ( ม.240 / 249 /254 /256 /257 / 266(3) (4)
*** เกี่ยวกับเพศ ม. 282 / 283 ***
3. ชิงทรัพย์ / ปล้นทรัพย์ ( ม.339-340 ) กระทำในทะเลหลวง

นอกราชอาณาจักร

ทำผิดนอกราช + 1. ผู้ทำผิด ( คนไทย ) + รัฐบาลปท. ที่ความผิดเกิด / ผสห. + ร้องขอให้ลงโทษ
2. ผู้ทำผิด ( คนต่างด้าว ) + รัฐบาลไทย / คนไทย ( ผสห. ) + ร้องขอให้ลงโทษ


ความผิดดังนี้รับโทษในราช
1. ก่อให้เกิดภยันตราย ม. 217 218 221-223 เว้นแต่ ม. 220 ว.แรก 224 226 228-232 237 233-236 ( เฉพาะเมื่อกรณีต้องระวางโทษ ม.238 )
2. เอกสาร ม. 264 265 266 (1) (2) 268 เว้นแต่ ม. 267 269
*** อิเล็กทรอนิกส์ ม. 269/1-269/7 ***
3. เพศ ม. 276 280 285 เฉพาะ ม. 276
4. ชีวิต ม. 288-290
5. ร่างกาย ม. 295-298
6. ทอดทิ้งเด็ก / คนป่วย / คนชรา ม.306-308
7. เสรีภาพ ม. 309 310 312-315 317-320
8. ลักทรัพย์ วิ่งราวทรัพย์ ม. 334-336
9. กรรโชก รีดเอาทรัพย์ ชิงทรัพย์ ปล้นทรัพย์ ม. 337-340
10. ฉ้อโกง ม. 341-344 346 347
11. ยักยอก ม. 352-354
12. รับของโจร ม. 357
13. เสียทรัพย์ ม. 358-360


เจ้าพนักงานของรัฐบาลไทย ทำความผิด ม. 147-166 และ ม.200-205 นอกราชอาณาจักร ห้ามลงโทษในราชอีก ถ้า

1. ได้มีคำพิพากษาของศาลในต่างประเทศถึงที่สุด ให้ปล่อยตัว
2. ศาลในต่างประเทศพิพากษาลงโทษ + พ้นโทษแล้ว
ถ้าได้รับโทษมา ( ศาลต่างประเทศ ) ยังไม่พ้นโทษ ( ลงน้อยกว่าที่กฎหมายกำหนดเพียงใดก็ได้ / ไม่ลงโทษเลยก็ได้ )
*** คำนึงโทษที่รับมา ***

ทำผิดในราช / ถือว่าทำในราช ผู้นั้นได้รับโทษ ( ศาลต่างประเทศ ) บางส่วน / ทั้งหมด = ลงน้อยกว่า / ไม่ลงเลย ( คำนึงโทษที่รับมา )
ว.2 = ทำผิดในราช / ถือว่าทำในราช ( ฟ้องที่ศาลต่างปท. + รัฐบาลไทยร้องขอ ) ห้ามลงในราชอีก ถ้า


1. มีคำพิพากษาของศาลต่างปท. ถึงที่สุด ให้ปล่อยตัว
2. ศาลต่างปท. พิพากษาให้ลงโทษ + พ้นโทษแล้ว

วิธีการเพื่อความปลอดภัย (1)

วิธี.. ใช้บังคับกับบุคคลใด มีบทบัญญัติแห่งกฎหมายให้ใช้บังคับได้เท่านั้น + กฎหมายที่ใช้นั้นให้ใช้ขณะที่ศาลพิพากษา

กฎหมายบัญญัติภายหลัง ยกเลิกวิธี .. บุคคลโดนวิธี.. อยู่ ศาลสั่งระงับเสีย เมื่อสำนวนความปรากฏศาล / ผู้นั้น / ผู้แทน / อนุบาล / อัยการ

มีบุคคลถถูกวิธี.. + กฎหมายออกภายหลังเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขวิธี.. 1. ไม่อาจนำมาใช้บังคับได้
2. นำมาใช้ได้แต่เป็นคุณแก่ผู้นั้นยิ่งกว่า


สำนวนความปรากฏแก่ศาล / ผู้นั้น / ผู้แทน / อนุบาล / อัยการ ร้องขอต่อศาลยกเลิกการใช้วิธี.. / ร้องขอรับผลนั้น ( ศาลสั่งตามสมควร )

ตามบทบัญญัติกฎหมายที่ออกภายหลัง ( โทษ วิธี.. ) + มีคำพิพากษาลงโทษไว้ = โทษที่ลงเป็นวิธี.. ด้วย
ว.2 = กรณีว.แรก ถ้ายังไม่ได้ลงโทษ / รับโทษอยู่ ก็ให้ใช้วิธี.. บังคับต่อไป = หากกฎหมายภายหลังมีงข.

1. ไม่อาจนำมาใช้บังคับแก้กรณีผู้นั้น
2. นำมาใช้ได้แต่เป็นคุณยิ่งกว่า

สำนวนความปรากฏแก่ศาล / ผู้นั้น / ผู้แทน / อนุบาล / อัยการ ร้องขอต่อศาลยกเลิกการใช้วิธี.. / ร้องขอรับผลนั้น ( ศาลสั่งตามสมควร )

ศาลพิพากษาให้ใช้วิธี.. ( ภายหลังความปรากฏแก่ศาลตามคำเสนอผู้นั้นเอง / ผู้แทน / ผู้อนุบาล อัยการ ) พฤติการณ์เปลี่ยนไป

ศาลจะสั่งเพิกถอน / งด ไว้ชั่วคราวได้ ( เห็นสมควร )
บทบัญญัติในภาค 1 ให้ใช้กรณีแห่งความผิดตามกฎหมายอื่นด้วย ( เว้นกฎหมายนั้นได้บัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น )

โทษ

โทษสำหรับลงโทษ มีดังนี้ 1. ประหารชีวิต
2. จำคุก
3. กักขัง
4. ปรับ
5. ริบทรัพย์สิน
ว.2 = โทษประหาร + จำคุกตลอดชีวิต ห้ามนำมาใช้ ต่ำกว่า 18 ปี
ว.3 = กรณีต่ำกว่า 18 ทำโทษประหาร / จำคุกตลอดชีวิต เปลี่ยนเป็น 50 ปี

ประหาร ฉีดยา / สารพิษให้ตาย
ว.2 = หลักเกณฑ์ + วิธีการ กระทรวงยุติธรรมกำหนด ( ประกาศในราชกิจจานุเบกษา )


จำคุก

ความผิด จำคุก + ปรับ ลงแต่จำคุกก็ได้

การคำนวณระยะเวลาจำคุก นับวันเริ่มจำคุกเข้าด้วย + นับเป็น 1 วันเต็ม ( ไม่สนชั่วโมง )
ว.2 = ระยะเป็นเดือน 30 วัน / ระยะเป็นปี ปีปฏิทินในราชการ
ว.3 = ถูกจำคุกครบแล้ว ปล่อยในวันถัดจากวันที่ครบกำหนด

โทษจำคุก เริ่มแต่วันมีคำพิพากษา แต่ ถูกขังก่อนศาลพิพากษา หักวันที่ถูกคุมขังออกจากระยะเวลาการจำคุก( เว้นศาลกล่าวเป็นอย่างอื่น )
ว.2 = กรณีคำพิพากษากล่าวอย่างอื่น โทษตามคำพิพากษา + วันที่ถูกคุมขังก่อน


ไม่เกินอัตราโทษขั้นสูงที่กฎหมายกำหนดสำหรับความผิดที่ได้กระทำลงไป
( ไม่กระทบมาตรา 91 )

กักขัง

กระทำผิดโทษจำคุก + ลงไม่เกิน 3 เดือน + ไม่เคยรับโทษจำคุกมาก่อน ลงกักขังไม่เกิน 3 เดือน แทนจำคุกได้
เคยรับจำคุกมา แต่ ประมาท / ลหุโทษ

ใครโดนกักขัง กักไว้ในสถานที่กักขัง ( มิใช่เรือนจำ ) / สถานีตำรวจ / สถานที่ควบคุมผู้ต้องหาของพงส.
ว.2 = ศาลเห็นสมควร สั่งให้กักขังในที่อาศัยผู้นั้น / ผู้อื่นที่ยินยอม / สถานที่อื่น ( เหมาะสมกับประเภท / สถานภาพ ผู้ทำผิด )
ว.3 = ความปรากฏแก่ศาล การกักขังในสถานที่ ว.1 / ว.2 ( ก่อให้เกิดอันตราย / ผู้ต้องพึ่งพาเดือดร้อนในการดำรงชีพเกิดควร / ไม่สมควร)


ศาลอาจสั่งให้กักขัง = สถานที่อื่น ( มิใช่ที่อยู่อาศัยผู้นั้น ) + ได้รับความยินยอมจากเจ้าของ / ผู้ครอบครองสถานที่
ศาลอาจกำหนดเงื่อนไขให้ปฏิบัติตามได้ + หากเจ้าของยอมก็แต่งตั้งเป็นผู้ควบคุมดูแล + ถือเป็นจพง.ตามประมวลกฎหมายนี้

ผู้โดนกักขังในสถานที่ซึ่งกำหนด ได้รับการเลี้ยงดู + รับอาหารจากคนนอก ( ออกเอง ) + ใช้เสื้อผ้าตนเอง + เยี่ยมวันละ 1 ชม. + จดหมาย
( ภายใต้ข้อบังคับของสถานที่ )
ว.2 = ผู้ต้องโทษกักขัง ทำงานตามระเบียบ + ข้อบังคับ + วินัย ถ้า จะขอทำงานอย่างอื่น = ก็เลือกได้ แต่ ไม่ขัดระเบียบ ข้อบังคับ สถานที่

ผู้ต้องโทษกักขัง สถานที่ผู้นั้นเอง / ผู้อื่นที่ยินยอมรับผู้นั้นไว้ = จะดำเนินอาชีพตนในสถานที่ดังกล่าวได้ ( ศาลกำหนด งข. อย่างใดได้ )

ระหว่างโดนกักขัง ( ม. 23 3 เดือน ) = ความปรากฏแก่ศาลเอง / ปรากฏตามคำแถลงพนักงานอัยการ - ผู้ควบคุมดูแลสถานที่กักขัง


1. ผู้ต้องโทษกักขัง = ฝ่าฝืนระเบียบ / ข้อบังคับ / วินัย สถานที่กักขัง
2. ผู้ต้องโทษกักขัง = ไม่ปฏิบัติตาม งข. ที่ศาลกำหนด
3. ผู้ต้องโทษกักขัง = ต้องคำพิพากษาให้ลงโทษจำคุก
*** ศาลอาจเปลี่ยนโทษกักขังเป็นจำคุก ( กำหนดเวลาที่ศาลเห็นสมควร ) แต่ไม่เกินเวลากักขังที่จะต้องได้รับต่อไป ****

ปรับ

ต้องโทษปรับ = ชำระตามจำนวนในคำพิพากษาต่อศาล

ต้องโทษปรับ + ไม่ชำระใน 30 วันนับแต่ศาลพิพากษา ถูกยึดทรัพย์สินใช้ค่าปรับ / กักขังแทนค่าปรับ
( เห็นว่าจะหลีกเลี่ยง = สั่งเรียกประกัน / กักขังแทนค่าปรับ ไปพลางก่อนได้ )
ว.2 = ว.2 ของมาตรา 24 มินำมาใช้ ( กักขังที่อยู่อาศัยของเขาเอง / ผู้อื่นเขายินยอม )

กักขังแทนค่าปรับ หลัก 200 / 1 วัน + ห้ามกักขังเกิน 1 ปี ( กระทงเดียวหรือหลายกระทง )
เว้น ปรับเกิน 80000 บาท = เรียกประกัน / กักขังแทนค่าปรับ 1 ปี ไม่เกิน 2 ปี ได้
ว.2 = การคำนวณ นับวันเริ่มกักขังรวมเข้าด้วย + นับเป็น 1 วันเต็ม ( ไม่สน ชม. )
ว.3 = ถูกคุมขังก่อนศาลพิพากษา หักวันที่ถูกคุมขังออกจากเงินค่าปรับ ( 200 / 1 วัน ) เว้นแต่ โดนจำคุกและปรับ
1. หักวันที่คุมขังออกจากเวลาจำคุก ( ม.22 )
2. เหลือแล้วมาหักออกจากเงินค่าปรับ
ว.4 = ถูกกักขังแทนค่าปรับครบกำหนดแล้ว ปล่อยตัวในวันถัดจากวันที่ครบกำหนด / ถ้านำเงินค่าปรับมาชำระครบแล้วปล่อยเลย
( แทนค่าปรับ )
ปรับไม่เกิน 80000 + มิใช่นิติบุคคล + ไม่มีเงินจ่าย ยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นที่พิพากษาคดี ขอทำงานบริการสังคม / ทำงานสาธารณะประโยชน์
ว.2 = พิจารณาคำร้องว. แรก = ฐานะการเงิน + ประวัติ + สภาพความผิด สมควรก็ได้
( ภายใต้การดูแล พนง.คุมประพฤติ / จนท.รัฐ / หน่วยงานของรัฐ / องค์การมีวัตถุประสงค์บริการสังคม – การกุศล )
ว.3 = ให้ทำงานสังคมแทน ศาลกำหนดลักษณะ / ประเภทของงาน / ผู้ดูแล ฯ ( ดูเอง ) + ศาลกำหนดเงื่อนไขอย่างใดเพื่อแก้ไขป้องกันก็ได้
ว.4 = ความปรากฏแก่ศาล พฤติการณ์ทำงานบริการสังคมได้เปลี่ยนแปลงไป ( ศาลแก้ไขได้ )
ว.5 = กำหนดให้ทำงานแทน นำมาตรา 30 มาใช้อนุโลม + ศาลมิได้กำหนดให้ทำงานติดต่อกันไป ( ต้องอยู่ภายใน 2 ปี นับแต่เริ่มทำงาน )
ว.6 = เพื่อปย. กำหนดชั่วโมงตามวรรค 3 ประธานศาลฎีกาออกระเบียบราชการฝ่ายตุลาการ ศาลยุติธรรมกำหนดชั่วโมงที่ถือ
เป็น 1 วันทำงาน

ภายหลังศาลอนุญาตให้ทำงานแล้ว ( ความปรากฏแก่ศาลเอง / คำแถลงของโจทก์ / จพง ) มีเงินพอชำระค่าปรับในเวลายื่นคำร้องขอทำงาน
ฝ่าฝืน / ไม่ปฏิบัติตาม


ศาลเพิกถอนคำสั่งอนุญาต + ปรับ / กักขังแทนค่าปรับ
( หักจำนวนวันทำงานออกจากค่าปรับได้ )
ว.2 = ระหว่างทำงานเกิดไม่อยากทำต่อ ขอเปลี่ยนเป็นรับโทษปรับ / กักขังแทนค่าปรับ ( ศาลอนุญาต = หักวันทำงานออกจากค่าปรับ )

คำสั่ง 2 มาตรา ( ทำงาน ) ให้เป็นที่สุด

ศาลจะปรับ ( หลายคน + ความผิดอันเดียวกัน + กรณีเดียวกัน ) ลงโทษปรับเรียงตามรายตัวบุคคล


ริบทรัพย์สิน

ทรัพย์สินใด กฎหมายบัญญัติว่า ผู้ใด ทำ / มี ไว้เป็นความผิด = ให้ริบเสีย + มีอำนาจดังนี้ด้วย 1. ได้ใช้ + มีไว้เพื่อทำผิด
2. ได้มาโดยการทำผิด
ว.2 = เว้นทรัพย์ของผู้อื่นที่ มิได้รู้เห็นเป็นใจในการทำผิด

บรรดาทรัพย์สิน 1. ได้ให้ในมาตรา 143 144 149 150 167 201 202 ให้ริบ เว้นทรัพย์ผู้อื่นที่มิได้รู้เห็นเป็นใจในการทำผิด
2. ได้ให้เพื่อจูงใจบุคคลกระทำความผิด / รางวัลในการทำผิด

ทรัพย์ที่ให้ริบ หลัก ตกเป็นของแผ่นดิน
เว้น ทำให้ทรัพย์สินใช้ไม่ได้ / ทำลายทรัพย์สินนั้นเสียได้

ศาลสั่งริบไปแล้ว ปรากฏภายหลังเจ้าของที่แท้จริงมิได้รู้เห็นเป็นใจในการทำผิด ศาลสั่งคืน
ถ้าทรัพย์อยู่กับ จพง. คำเสนอต้องภายใน 1 ปี
( นับแต่คำพิพากษาถึงที่สุด )

ผู้ที่ศาลสั่งให้ส่งทรัพย์สินที่ริบ ไม่ส่งภายในเวลาที่ศาลกำหนด ศาลมีอำนาจสั่งดังนี้ 1. ยึดทรัพย์สิน
2. ให้ชำระราคาสั่งยึดทรัพย์อื่นของผู้นั้นชดใช้ราคาจนเต็ม
3. ศาลเห็นว่าส่งได้แต่ไม่ส่ง / ชำระได้แต่ไม่ชำระ


กักขังจนกว่าจะทำตาม แต่ไม่เกิน 1 ปี
ถ้าภายหลังปรากฏแก่ศาลเอง / คำเสนอผู้นั้น ผู้นั้นไม่สามารถส่งทรัพย์สิน / ชำระราคาได้ = ปล่อยตัวก่อนครบกำหนดได้

*** โทษระงับไปด้วยความตายของผู้ทำผิด ***


วิธีการเพื่อความปลอดภัย

มีดังนี้ 1. กักกัน
2. ห้ามเข้าเขตกำหนด
3. เรียกประกันทัณฑ์บน
4. คุมตัวไว้ในสถานพยาบาล
5. ห้ามประกอบอาชีพบางอย่าง

กักกัน

กักกัน คือ ควบคุมผู้ทำผิดติดนิสัยในเขตกำหนด ( ป้องกันการทำผิด + ดัดนิสัย + ฝึกอาชีพ )

เคยถูกศาลพิพากษากักกันมาแล้ว ความผิดดังนี้ 1. สงบสุข ม.209-216
เคยถูกจำคุกไม่ต่ำกว่า 6 เดือน 2. ภยันตราย ม.217-224
3.เงินตรา ม.240-246
4. เพศ ม.276-286
5. ชีวิต ม.288-290 และ มาตรา 292-294
6. ร่างกาย ม.295-299
7. เสรีภาพ ม.309-320
8. ทรัพย์ ม.334-340 และ มาตรา 354 357
ว.2 = ภายใน 10 ปี นับแต่พ้นกักกัน / โทษ ( ทำผิดที่ระบุอีก + ศาลพิพากษาจำคุกไม่ต่ำกว่า 6 เดือน ) ติดนิสัย
( กักกันไม่น้อยกว่า 3 ปี + ไม่เกิน 10 ปีได้ )

ว.3 = ทำผิดยังไม่เกิน 17 ปี มิให้ถือเป็นความผิดที่จะมาพิจารณากักกันตามมาตรานี้

การคำนวณ ( กักกัน ) เริ่มวันที่ศาลพิพากษาเป็นวันเริ่มกักกัน แต่ มีโทษจำคุก / กักกันที่รับอยู่ ก็รับไปก่อน + นับวันพ้นเป็นวันเริ่มก.ก
ว.2 = ระยะเวลากักกัน / การปล่อยตัว ม.21 ใช้บังคับอนุโลม ( 1 วันเต็ม / 30 วัน / ปีปฏิทินราชการ )

การฟ้องให้กักกัน = หน้าที่อัยการ + ขอรวมไปในฟ้อง ( มูลเกิดอำนาจขอให้กักกัน ) / ฟ้องภายหลังก็ได้

ห้ามเข้าเขตกำหนด

คือ ห้ามเข้าไปในท้องที่ / สถานที่ที่กำหนดในคำพิพากษา

เมื่อพิพากษา + เห็นสมควรเพื่อความปลอดภัยประชาชน ( ไม่ว่ามีคำขอหรือไม่ ) สั่งในคำพิพากษาว่าเมื่อพ้นโทษห้ามเข้าเขตไม่เกิน 5 ปี

เรียกประกันทัณฑ์บน

ความปรากฎแก่ศาล ( ข้อเสนออัยการ ) ผู้ใดจะก่อเหตุร้าย ( บุคคล / ทรัพย์สิน ) ในการพิจารณาความผิดใด


ถ้าศาลไม่ลงโทษ แต่ ผู้ถูกฟ้องน่าจะก่อเหตุร้าย ให้สั่งทำทัณฑ์บนไว้
ไม่เกิน 5000 บาท ไม่เกิน 2 ปี + มีประกันด้วยหรือไม่ก็ได้

ว.2 = ผู้นั้นไม่ยอมทำ สั่งกักขังจนกว่าจะทำ / หรือหาประกันได้ ( กักขังไม่เกิน 6 เดือน ) / สั่งห้ามเข้าเขตกำหนด
ว.3 = เด็กไม่เกิน 17 มิอยู่ในบังคับตามมาตรานี้

ผู้ทำผิดทัณฑ์บน ศาลมีอำนาจสั่งให้ผู้นั้นชำระเงินไม่เกินจำนวนในทัณฑ์บน ถ้าไม่ชำระ เอามาตรา 29 30 ( เรื่องปรับ ) มาใช้


คุมตัวไว้ในสถานพยาบาล

ศาลเห็นว่า การปล่อยตัว ( ผู้มีจิตบกพร่อง / ฟั่นเฟือน ที่ไม่ต้องรับโทษ / ลดโทษ ) ไม่ปลอดภัยกับประชาชน = คุมไว้ในสถานพยาบาลได้
( คำสั่งนี้เพิกถอนเมื่อใดก็ได้ )

ศาลลงจำคุก / รอลงโทษ / รอกำหนดโทษ ทำความผิดเกี่ยวเนื่องการเสพสุราเป็นอาจิณ / ยาเสพติด


ศาลกำหนดในคำพิพากษาต้องไม่เสพ สุรา / ยาเสพติด ( อย่างใด / ทั้งสอง )
ไม่เกิน 2 ปี นับแต่วันพ้นโทษ / วันปล่อยตัวเพราะรอกำหนดโทษ / รอการลงโทษ
ว.2 = บุคคลในวรรคแรกไม่ทำตาม ส่งไปคุมที่สถานพยาบาล ( ไม่เกิน 2 ปี )

ห้ามประกอบอาชีพบางอย่าง

เมื่อศาลพิพากษาลงโทษ + เห็นว่าความผิดที่ทำอาศัยโอกาสจากการประกอบอาชีพ / วิชาชีพ + ให้ทำต่อคงทำผิดอีก


ศาลสั่งในคำพิพากษาห้ามประกอบอาชีพ / วิชาชีพนั้นอีก
ไม่เกิน 5 ปี นับแต่วันพ้นโทษ

เพิ่มโทษ / ลดโทษ / รอการลงโทษ

การเพิ่มโทษ มิให้เพิ่มถึงประหารชีวิต / จำคุกตลอดชีวิต / เกิน 50 ปี

การลดโทษประหาร ( ลดมาตราส่วน / ลดโทษที่จะลง ) ลดดังนี้ 1. ลด 1 ใน 3 ให้ลดเป็นโทษจำคุกตลอดชีวิต
2. ลดกึ่งหนึ่ง ให้ลดเป็นโทษจำคุกตลอดชีวิต หรือ 25 -50 ปี
การลดโทษจำคุกตลอดชีวิต ( ลดมาตราส่วน / ลดโทษที่จะลง ) จำคุก 50 ปี

การคำนวณเพิ่ม / ลด ตั้งกำหนดโทษก่อนแล้วค่อยเพิ่ม / ลด *** ถ้ามีทั้งเพิ่ม + ลด = ให้เพิ่มก่อนแล้วค่อยลดจากผลที่เพิ่ม ***
ถ้าส่วนที่เพิ่ม ( เท่ากับ / มากกว่า ) ที่จะลด + ศาลเห็นสมควรไม่เพิ่มไม่ลดก็ได้

โทษจำคุกที่โดน 3 เดือนหรือน้อยกว่า ศาลจะกำหนดโทษจำคุกให้น้อยลงอีกก็ได้
โทษจำคุกที่โดน 3 เดือนหรือน้อยกว่า + มีโทษปรับด้วย ศาลจะกำหนดโทษจำคุกให้น้อยลงอีกก็ได้ / ยกโทษจำคุกเสียปรับอย่างเดียว

ทำผิดโทษจำคุก + ลงไม่เกิน 3 ปี + ไม่เคยโดนมาก่อน ศาลคำนึง อายุ ประวัติ ความประพฤติ สติปัญญา
เคยแต่ประมาท / ลหุโทษ การศึกษา สภาพความผิด เหตุปราณี


ศาลพิพากษาผู้นั้น มีความผิดแต่รอกำหนดโทษไว้ / กำหนดโทษแต่รอการลงโทษ
กลับตัวในเวลาที่ศาลกำหนด ไม่เกิน 5 ปี นับแต่วันที่ศาลพิพากษา + กำหนด งข. คุมความประพฤติด้วยหรือไม่ก็ได้
ว.2 = งข. คุมความประพฤติ ข้อเดียว / หลายข้อ ดังนี้
1. ไปรายงานตัว จพง.ที่ศาล ครั้งคราว ( จพง. สอบถาม / แนะนำ / ช่วยเหลือ / ตักเตือน ตวามประพฤติ + การประกอบอาชีพ
จัดให้ทำกิจกรรมบริการสังคม / สาธารณประโยชน์ จพง. เห็นสมควร )
2. ฝึกหัด / ทำงานอาชีพกิจจะลักษณะ
3. ละเว้นการคบหาสมาคม / ประพฤติสู่การทำผิดอีก
4. บำบัดรักษายาเสพติดให้โทษ ( บกพร่องทางกาย / ใจ / เจ็บป่วยอย่างอื่น ณ สถานที่ + เวลาที่ศาลกำหนด )
5. งข. อื่นๆ ที่ศาลเห็นสมควรกำหนดเพื่อแก้ไขฟื้นฟู / ป้องกันไม่ให้ทำผิดอีก / มีดอกาสทำผิดอีก )
ว.3 = งข. ข้างบน ภายหลังความปรากฏแก่ศาลตามคำขอผู้ทำผิด / ผู้แทนโดยชอบธรรม / ผู้อนุบาล / อัยการ / จพง.


พฤติการณ์ผู้ทำผิดเปลี่ยนแปลงไป ศาลเห็นสมควร = แก้ไข / เพิกถอนข้อหนึ่งข้อใดได้ / กำหนดงข. ที่มิได้กำหนดเพิ่มได้

ความปรากฏแก่ศาล / ความปรากฏตามคำแถลงของอัยการ / จพง. ว่า ผู้กระทำไม่ปฎิบัติตาม งข. ในม.56

ศาลตักเตือนผู้ทำผิด / กำหนดการลงโทษที่ยังไม่ได้กำหนด / ลงโทษซึ่งรอไว้นั้นได้

ความปรากฏแก่ศาล / ความปรากฏตามคำแถลงของอัยการ / จพง. ว่า ภายในเวลามาตรา 56 ผู้ที่ถูกศาลพิพากษาได้ทำผิดโทษจำคุก
*** ศาลพิพากษาคดีหลังกำหนดโทษที่รอการกำหนดในคดีก่อนบวกเข้ากับโทษคดีหลัง *** ( มิใช่ประมาท / ลหุโทษ )
ศาลพิพากษาคดีหลังบวกโทษที่รอการลงโทษในคดีก่อนเข้ากับคดีหลัง
( ภายในเวลา ม.56 ถ้าไม่ได้ทำผิดตามวรรคแรก = พ้นกำหนดโทษ / รอ )